Les Citations ปัญญาจารย์การเมือง




เราตั้งใจทำหนังสือเล่มนี้ให้เป็นเครื่องกระตุ้นความคิด 


เราไม่ต้องการเน้นเรื่องราวหรือบอกเล่าประวัติศาสตร์ เราไม่ต้องการให้มันเป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลหรือความรู้ใด ๆ เป็นอันดับแรก 


แต่เราจงใจที่จะนำเสนอข้อความสั้น ๆ ให้ผู้อ่านพิจารณา สิ่งที่เราอยากให้ผู้อ่านพิจารณามากที่สุดก็คือตัวข้อความโดยตัวของมันเอง 


ข้อความส่วนใหญ่ในหนังสือเล่มนี้ เราปรารถนาให้ผู้อ่านพิจารณามันเหมือนกับการชมภาพเขียนที่จัดแสดงบนฝาผนังของพิพิธภัณฑ์ 


หนังสือ   Les Citations ปัญญาจารย์การเมือง

ผู้เขียน   ปิยบุตร แสงกนกกุล

สำนักพิมพ์   Shine Publishing House

เวลาพิมพ์   มีนาคม 2022

ISBN   978 616 7939 19 3

ขนาดรูปเล่ม   กว้าง 122 มม. สูง 165 มม. หนา 25.5 มม.

เนื้อใน   กระดาษถนอมสายตา พิมพ์ขาวดำ 

ปก   สี่สี เคลือบซอฟท์ทัช

จำนวนหน้า   448 หน้า

ราคาปก   380 บาท

สั่งซื้อ   ร้านสำนักพิมพ์ไชน์ คลิก

 


โปรยปกหลัง

“ปัญญาชน คือ คนที่ซื่อตรงกับชุดความคิดทางการเมืองและสังคมหนึ่ง  แต่ถึงกระนั้น เขาก็ไม่หยุดที่จะต่อต้านท้าทายมัน” 

ฌอง-ปอล ซาทร์



หมายเหตุสำนักพิมพ์


เราตั้งใจทำหนังสือเล่มนี้ให้เป็นเครื่องกระตุ้นความคิดมากกว่าที่จะให้ความรู้ เราไม่ต้องการเน้นเรื่องราวหรือบอกเล่าประวัติศาสตร์ เราไม่ต้องการให้มันเป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลหรือความรู้ใด ๆ เป็นอันดับแรก แต่เราจงใจที่จะนำเสนอข้อความสั้น ๆ ให้ผู้อ่านพิจารณา ข้อมูลที่เราให้ตรงท้ายข้อความนั้นมีเพียงว่า ใครคือผู้เขียน, เขียนในงานชิ้นใด และเขียนขึ้นเมื่อไร แต่มันก็เป็นเพียงส่วนประกอบตามธรรมเนียมเท่านั้น สิ่งที่เราอยากให้ผู้อ่านพิจารณามากที่สุดก็คือตัวข้อความโดยตัวของมันเอง ข้อความส่วนใหญ่ในหนังสือเล่มนี้ เราปรารถนาให้ผู้อ่านพิจารณามันเหมือนกับการชมภาพเขียนที่จัดแสดงบนฝาผนังของพิพิธภัณฑ์ เกือบจะเรียกว่านี่คือนิทรรศการจัดแสดงข้อความ โดยมี ปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นคิวเรเตอร์ก็ว่าได้ หากไม่นับข้อเขียนบางส่วนของปิยบุตรเองในตอนท้ายเล่ม


ปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นนักคิดร่วมสมัยที่สำเร็จการศึกษาจากฝรั่งเศส โลกทางภูมิปัญญากระแสหลักในสังคมไทยนั้นเป็นภาพสะท้อนจากโลกภาษาอังกฤษเป็นหลัก แม้ว่าความเชี่ยวชาญของปิยบุตรจะเป็นเรื่องกฎหมาย แต่ขอบเขตความสนใจของเขาก็กว้างไปกว่านั้นมาก  หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการกลั่นกรองผลึกความคิดจากนักคิดต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยโลกทัศน์ที่แตกต่างจากภูมิปัญญากระแสหลัก นักคิดหลายคนเป็นผู้ที่สังคมปัญญาชนไทยยังไม่ค่อยรู้จัก ความคิดที่คัดสรรมาเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและเป็นประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างประชาธิปไตยขึ้นในหลากหลายสังคม การอ่านถ้อยคำของนักคิดเหล่านี้ที่ผ่านการสกัดคัดเลือกโดยปิยบุตร นอกจากจะเป็นทางลัดในการเข้าถึงความคิดที่โดยปกติอาจจะต้องอ่านหนังสือหนาหลายร้อยหน้าแล้ว ยังจะเป็นการดื่มดํ่าความคิดและภูมิปัญญาที่มาจากต่างเวลาในห้วงยามที่เรากำลังขบคิดใคร่ครวญถึงหนทางในยุคสมัยของเรา หนังสือเล่มนี้จะเป็นเครื่องมือชั้นดีที่ช่วยกระตุ้นความคิดของผู้อ่าน อีกทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสังคมที่ดีกว่าเดิม ทั้งนี้ทางสำนักพิมพ์ยังได้จัดทำประวัติสั้น ๆ เกี่ยวกับบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของวาทะเหล่านั้นไว้ท้ายเล่ม เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าของผู้อ่าน 


ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปิยบุตรนอกจากจะเป็นนักวิชาการแล้ว ยังเป็นนักการเมืองที่มีบทบาทเด่น ในสังคมไทยซึ่งนักการเมืองถูกมองว่าเป็นกลุ่มคนกระหายอำนาจที่มุ่งแต่ตักตวงผลประโยชน์ ทำให้นักการเมืองเป็นอาชีพที่มีภาพลักษณ์ไม่ดี และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของนักวิชาการโดยมาก โดยเฉพาะนักวิชาการทวนกระแสที่ไม่นิยมเข้าหาผู้มีอำนาจ การตัดสินใจเดินสู่สนามการเมืองจึงเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญของตัวเขาเอง ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการปลุกความหวังให้กับผู้คนจำนวนไม่น้อย ให้กลับมาเชื่อในวิถีทางของการเมืองในระบบรัฐสภา มากกว่าสิ้นหวังกับนักการเมืองและหันไปต้อนรับเผด็จการทหาร 


ในปี 2561 หลังจากที่ปิยบุตรได้เปิดตัวแล้วว่าจะร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองกับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ยังมีมติ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน แต่งตั้งให้ ปิยบุตร แสงกนกกุล ดำรงตำแหน่ง “รองศาสตราจารย์” สะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าในอาชีพทางวิชาการที่รอคอยอยู่ หากว่าเขาไม่ลงเล่นการเมือง ใช้ชีวิตในฐานะนักวิชาการต่อ โดยที่ก็ยังสามารถแสดงความเห็นและจุดยืนวิจารณ์สังคมไปพร้อมกัน ซึ่งย่อมจะเป็นหนทางที่ทำให้เขาได้รับการยอมรับนับถือโดยที่ยังมีสถานะนักวิชาการคํ้าจุนอยู่ แตกต่างกับการเดินหน้าเข้าสู่การเมืองซึ่งเต็มไปด้วยการต่อสู้อันดุเดือดและมีความไม่แน่นอนอันอาจจะนำไปสู่การถูกเล่นงานจนสูญเสียสถานะทั้งทางสังคมและการเมือง และเหตุการณ์ก็เป็นจริงดังว่า แม้ว่าพรรคอนาคตใหม่จะประสบความสำเร็จเกินคาด แต่หลังจากทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรได้ยังไม่ถึง 1 ปีดี พรรคก็ถูกยุบและปิยบุตรถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี ด้วยมติของศาลรัฐธรรมนูญ 


กระนั้นก็ตาม ปิยบุตรหาได้ยกเลิกโครงการของเขา ถอยออกไปจากการเมืองและกลับไปใช้ชีวิตเยี่ยงนักวิชาการ หากแต่เดินหน้าสู้ต่อแม้ว่าจะไม่มีสิทธิ์ทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


ปิยบุตรได้ใช้ความรู้ความสามารถในทางวิชาการของเขา ให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่อง และหนังสือเล่มนี้เป็นเครื่องสะท้อนอย่างดี ให้เห็นถึงความปรารถนาอันแรงกล้าของเขาที่จะเปลี่ยนสังคมไทยไปสู่สิ่งที่ดีกว่า


วาด รวี

มีนาคม 2565




คำนำ


“ปัญญาชน คือ คนที่ซื่อตรงกับชุดความคิดทางการเมืองและสังคมหนึ่ง แต่ถึงกระนั้น เขาก็ไม่หยุดที่จะต่อต้านท้าทายมัน” 

Jean-Paul Sartre, Nouvel Observateur, 19 au 25 juin, 1968.


“ปัญญาชน คือ คนที่เอาตนเข้าไปข้องเกี่ยวในเรื่องที่ตนไม่เกี่ยวข้อง” 

Jean-Paul Sartre, « Qu’est-ce qu’un intellectuel ? », Conférence donnée à Tokyo, 1965, dans Plaidoyer pour les intellectuels, 1968. 



หนังสือชื่อ “ปัญญาจารย์การเมือง” เล่มนี้ คือ การคัดสรรข้อเขียนบางท่อนบางตอนของบุคคลสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญญาชนและมีบางส่วนที่เป็นนักการเมือง ด้วยเห็นว่าข้อเขียนเหล่านี้ทรงคุณค่า ให้แง่คิด และเป็นแรงบันดาลใจให้กับการต่อสู้ นอกจากนั้น ก็มีข้อเขียนสั้น ๆ บางส่วนที่ผมเขียนขึ้นเอง เจ้าของข้อเขียนส่วนใหญ่เป็นคนต่างประเทศ มีไม่มากนักที่เป็นคนไทย และเจ้าของข้อเขียนเกือบทั้งหมดมีความคิดก้าวหน้า มีเพียงไม่กี่คนที่มีหัวอนุรักษนิยมล้าหลัง ข้อเขียนที่คัดสรรมานี้ ส่วนใหญ่ ผมเป็นผู้แปลเอง เว้นแต่ข้อเขียนบางชิ้นที่มีการแปลเป็นภาษาไทยมาก่อนแล้ว ผมจึงได้นำฉบับพากย์ไทยมาลง พร้อมกับอ้างชื่อผู้แปลไว้ และในบางชิ้น ผมได้เขียนอธิบายสรุปความและเรียบเรียงเพิ่มเติมไว้ด้วย 


ข้อเขียนคัดสรรที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ เคยปรากฏในที่อื่นมาก่อน ส่วนหนึ่ง ผมรวมไว้ใน “รวมบทคัดสรรว่าด้วยเผด็จการและกฎหมาย” ซึ่งเป็นของขวัญที่ Eugénie และผมแจกในงานแต่งงาน และอีกส่วน เคยนำมาเผยแพร่ผ่านทางเพจของผม


ข้อเขียนคัดสรรทั้งหมดที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ สัมพันธ์กับบริบททางการเมืองในประเทศไทย ไม่มีข้อเขียนใดที่ผมคัดสรรมาเผยแพร่ โดยปราศจากความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่เป็นวิกฤตร้าวลึกในประเทศนี้มามากกว่าทศวรรษ  


ผมขอขอบคุณ พี่เป้ วาด รวี ที่สนใจรวบรวมและตีพิมพ์ข้อเขียนคัดสรรเหล่านี้ พร้อมกับทำหน้าที่บรรณาธิการ คัดเลือกภาพประกอบ เขียนประวัติโดยย่อของปัญญาชนเจ้าของข้อเขียนบางส่วน และตั้งชื่อหนังสือว่า “ปัญญาจารย์การเมือง” ขอบคุณ พี่โย กิตติพล สรัคคานนท์ ที่ออกแบบปกได้งดงามและมีความหมาย และเขียนประวัติโดยย่อของปัญญาชนเจ้าของข้อเขียน


ผมหวังว่าข้อเขียนคัดสรรต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้คนยังคงมีความหวังในการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ 


เพราะ... เมื่อมีความหวัง 

ก็จะคิดถึงความเป็นไปได้ 

เมื่อคิดว่าเป็นไปได้ 

ก็จะลุกขึ้นสู้ 



ปิยบุตร แสงกนกกุล 

กรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปารีส

มีนาคม 2565 




สารบัญ


หมายเหตุสำนักพิมพ์     11

คำนำ   15

นิกโกโล มาเคียเวลลี, 1517   21

นิกโกโล มาเคียเวลลี, 1531   22

เอเตียน เดอ ลา โบเอซี, ว่าด้วยความเป็นทาสโดยใจสมัคร, 1576   25

ข้อคิดจากริเชอลิเยอ   29

เบลส ปาสกาล, ความคิด, 1670   31

ข้อคิดจากสปิโนซา, 1670   33

มารา, ห่วงโซ่ของความเป็นทาส, 1774   35

มงเตสกิเยอ, เจตนารมณ์ของกฎหมาย, 1748   39

Eat The Rich   41

สุนทรพจน์ของโรเบสปิแยร์ ไม่เห็นด้วยกับพระราชอำนาจของกษัตริย์ในการยับยั้งกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากสภา, 1789   43

17 มิถุนายน 1789 เมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มจากการปฏิวัติโดยสภา : บทบาทของซีแยส   45

หลุยส์ อ็องตวน เดอ แซงต์-ฌูสท์, สุนทรพจน์ในการพิพากษาคดีหลุยส์ที่ 16, 1792   57

แม็กซิิมิเลียง โรเบสปิแยร์, สิทธิในการมีปัจจัยพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต คือ สิทธิขั้นพื้นฐานอันสำคัญที่สุด, 1792   61

แม็กซิมิเลียง โรเบสปิแยร์, รายงานว่าด้วยหลักการของรัฐบาลปฏิวัติ, 1793   65

ร่างคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง เสนอโดยโรเบสปิแยร์, 1793   67

กฎหมาย คุณธรรมทางการเมือง และสิทธิในการลุกขึ้นสู้   71

มาร์กี เดอ ซาด, ปรัชญาในห้องนอน, 1795   75

3 วันอันยิ่งใหญ่ของประชาชนในการลุกขึ้นสู้โค่นล้มชาร์ลส์ที่ 10 เปลี่ยนเป็นระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ, 1830   79

ว่าด้วย “นักกฎหมาย” ในความเห็นของอเล็กซิส เดอ ท็อกเกอวิลล์   85

ครบรอบ 83 ปีการจากไปของ อันโตนิโอ กรัมชี   91

“กฎหมาย” กับความรุนแรง – วอลเตอร์ เบนยามิน   93

แม็กซิม กอร์กี้, 1906   95

ปาเวลแถลงต่อศาล : “แม่” โดย แม็กซิม กอร์กี้   99

“สถานการณ์ปฏิวัติ” ในความคิดของเลนิน, 1915   103

ความคิดของมาร์กซ์และเลนิน ว่าด้วยการบดขยี้กลไกรัฐและแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ : ประสบการณ์จากการปฏิวัติคอมมูนปารีส 1871   107

จุดยืนเรื่องสงครามของเลนิน     114

โรซา ลุคเซมบวร์ค, 1918   121

ปรีโม เลวี   123

ความเห็นของพระองค์เจ้าธานีนิวัตเกี่ยวกับการปกครองที่เหมาะสมกับชาวตะวันออก, 2470   125

สถานการณ์ปฏิวัติในความคิดของทรอตสกี้, 1930   127

อัลเดียส ฮักซ์ลีย์, 1932   129

สิทธิเลือกตั้งของผู้หญิงในประเทศไทยมีมาก่อนฝรั่งเศส   131

บทกวีแห่งการต่อสู้ 2 บทของ ออตโต เรเน กัสตีโย   135

กษัตริย์ของลัทธิปฏิวัติในความเห็นของ เตียง ศิริขันธ์     141

ยุทธวิธี “นโยบายระยะเปลี่ยนผ่าน” ของ เลออน ทรอตสกี้, 1938   143

แอนสท์ เฟรนเคิล, รัฐคู่, 1941   149

อัลแบรต์ กามูส์, เทพตำนานซีซิฟ, 1942   153

อัลแบรต์ กามูส์, 1946   159

ฌ็อง-มารี กลีซ   161

ข้อคิดของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ถึงผู้แทนราษฎร, 2492   163

อัลแบรต์ กามูส์, คนขบถ, 1951   166

กุหลาบ, 2495 (1957)   169

สาย สีมา, 2500 (1957)   171

ฮันนาห์ อาเรนท์, กรณีไอช์มาน, 1964   173

จิตร ภูมิศักดิ์, 2507-2508 (1964-1965)   177

กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ, 1967   181

ความหมายของบทบัญญัติ “องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” ตามความเห็นของ ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย   183

หลุยส์ อัลธูสแซร์, อุดมการณ์และกลไกรัฐทางอุดมการณ์, 1970   189

มิเชล ฟูโกต์, ระเบียบของวาทกรรม, 1970   197

อิตาโล คัลวีโน, 1972   201

มิเชล โทรแปร์, ปัญหาของการตีความ และทฤษฎีของการมีสถานะเหนือกว่ากฎหมายฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐธรรมนูญ, 1974   203

ข้อคิดเรื่อง “รัฐธรรมนูญ” ของ นายปรีดี พนมยงค์, 2517   209

ปรีดี พนมยงค์, เราจะต่อต้านเผด็จการได้อย่างไร, 2517   210

บุญสนอง บุณโยทยาน, “ผู้อยู่เบื้องหลังขบวนการนักศึกษา”, 2517    225

อนาสตาซิโอ โซโมซา เดเบย์เล, 1977   231

“รัฐ” ในความคิดของ นิคอส ปูลองซาส     233

อัลแบร์ โซบูล, 1981   241

จดหมายจากตอลสตอยถึงจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 3, 1881   245

หลุยส์ มิแช็ล, 1883, 1886   251

ปิแอร์ บูร์ดิเยอ, กำลังบังคับของกฎหมาย องค์ประกอบเพื่อสังคมวิทยาของสนามกฎหมาย, 1986   255

ความเห็นของ วิษณุ เครืองาม กรณีพระมหากษัตริย์พระราชทานคำแนะนำแก่รัฐบาล และแนวทางปฏิบัติที่รัฐบาลพึงกระทำ   259

“รัฐประหาร” กับ “กษัตริย์” ในความเห็นของ วิษณุ เครืองาม   260

โซคราเตส    263

อำนาจสถิตอยู่ ณ ที่ที่คนเชื่อว่ามีอำนาจ: คติจาก Game of Thrones (มหาศึกชิงบัลลังก์)   269

โฮเวิร์ด ซินน์, 2004   273

จอร์โจ อกัมเบน, 2008   275

โอลิวิเยร์ โบด์, ประวัติศาสตร์ข้อความคิดรัฐธรรมนูญในฝรั่งเศสจากรัฐธรรมนูญทางการเมืองถึงรัฐธรรมนูญในฐานะสถานะทางกฎหมายของรัฐ, 2009   277

สเตฟาน เฮซเซล, 2010   281

นิยามความรักของ อาแล็ง บาดียู, 2010   283

ข้อสังเกตจาก จูดิธ บัตเลอร์, 2015   285

ยานิส วารูฟากิส, 2015   287

เอริค ฮาซาน, 2015   291

“สัญญาณการเริ่มต้นปฏิวัติ” ในความคิดของ โซฟี วานิช, 2016   293

ฌอฟฟรัว เดอ ลากาสเนอรี วิพากษ์กระบวนการยุติธรรม, 2016   295

การเมือง คือ ความเป็นไปได้     298

ช็องตาล มูฟ, 2018   303

จอร์โจ อกัมเบน, 2020   305

ห้วงเวลาปฏิวัติ   309

รำลึกการจากไปของ บุญสนอง บุณโยทยาน   313

อนาคตอยู่ที่คนรุ่นใหม่: ข้อสังเกตของ ฌอฟฟรัว เดอ ลากาสเนอรี, 2020   317

ปฏิบัติการที่นำไปสู่การปราบปราม: ข้อคิดจาก ฌอฟฟรัว เดอ ลากาสเนอรี, 2020   319

“กฎหมาย” ในวรรณกรรมของ ฟรันซ์ คาฟคา   323

ครบรอบชาตกาลของ ฌ็อง-ฌาคส์ รุสโซ   327

ความไม่แน่นอนในการปฏิวัติ   333

ฌ็อง-ลุก นองซี เสียชีวิต   337

“18 Brumaire /2 ธันวาคม 1851” และ “19 กันยายน 49/22 พฤษภาคม 57”   339

Lenin ที่ Pornic: Lénine à Pornic   355

เทคนิคใหม่ที่รัฐใช้จัดการการประท้วงทางการเมือง   359

เริ่มจากคำถาม “...มีไว้ทำไม?”   364

ถ้าประยุทธ์ไปจริง แล้วอย่างไรต่อ?   366

ปฏิรูปแบบปฏิวัติ   372

ประเทศไทยต้องการ Revolutionary MP   374

2564 สู่ 2565                                    390


ประวัติชีวิตโดยสังเขปของผู้กล่าววาทะ    405


Comments