ศิลปวัฒนธรรมกับการเลือกข้าง
โรงแรมรัตนโกสินทร์, งานมอบรางวัลฟรีไรท์อวอร์ด
วันที่ 20 ตุลาคม 2556
ฟังเรื่องม้าของคุณโด่งแล้วก็นึกถึงเจ้าของคอกม้านะ
ส่วนใหญ่แล้วผมค่อนข้างเห็นด้วยกับที่คุณโด่งพูด
แต่ว่ามันจะมีเห็นต่างนิดนึงเหมือนกัน เอาประเด็นที่ว่าเห็นด้วยก่อน
ประเด็นที่ว่าต้องเลือกเนี่ย
แล้วก็ที่คุณโด่งใช้คำว่าต้องรับผิดชอบ จริงๆแล้วผมคิดว่าเป็นประเด็นสำคัญของขั้นตอนการพัฒนา
คือเราอาจจะต้องใช้คำว่าขั้นตอนการพัฒนาอารยธรรมของคนหรือว่าของมนุษย์
หมายถึงว่ามนุษย์มันเป็นจุดอันเดียว
เป็นสิ่งเดียวกันกับจุดกำเนิดของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสิ่งนี้มันเกิดขึ้นในยุโรป
ศตวรรษที่ 18
หมายความว่าเมื่อคนลุกขึ้นมาแล้วบอกว่าต้องเลือก
เลือกในที่นี้ ในความหมายจริงๆแล้วก็คือ เลือกที่จะเป็นมนุษย์ เป็นคนในความหมายที่
เป็นเจ้าของจิตใจ ความคิด ร่างกายของตัวเอง ซึ่งประกอบด้วยสามสิ่ง สิทธิ เสรีภาพ
ความเสมอภาค และอันนี้คือจุดกำเนิด
หมายความว่าหลังจากนี้
ข้าพเจ้าเป็นเจ้าของร่างกาย มีเสรีภาพที่จะกระทำหรือไม่กระทำอะไร
ข้าพเจ้าไม่ใช่ผลผลิตจากพระเจ้า หรือถูกกำหนดมาจากสวรรค์ อันนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้น
คือสำนึกที่เกิดขึ้นในอารยธรรมนี้ แล้วเป็นจุดที่ทำให้เกิดประชาธิปไตยขึ้นมา
คือมนุษย์มันโตขึ้น
แล้วมันต้องการที่จะรับผิดชอบตัวมันเอง มันไม่ได้ฝากชะตาของมันไว้กับพระเจ้าอีกต่อไปแล้ว
นี่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ทำให้อารยธรรมตะวันตกเจริญขึ้นมา
ก็คือเป็นจุดกำเนิดของประชาธิปไตย ซึ่งประเด็นนี้ ผมยังสงสัยอยู่ว่า
ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มาจนถึงวันนี้
สังคมไทยจริงๆผ่านขั้นตอนนี้หรือยัง
เพราะสังคมตะวันตกไม่ใช่ว่าอยู่ๆเขาก็ลุกขึ้นมาเป็นคนในความหมายนี้ได้ในชั่วข้ามวันข้ามคืน
เขาใช้เวลาเป็นร้อยปีเหมือนกัน กว่าจะพัฒนาไอ้สำนึกอันนี้ขึ้นมา
ซึ่งเป็นสำนึกที่มันไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่มันต้องต่อสู้ให้เกิดขึ้น ต่อสู้กับใคร
สมัยนั้นของยุโรปเขาก็ต่อสู้กับพระ ต่อสู้กับขุนนาง ต่อสู้กับกษัตริย์ เพราะคนเหล่านั้นบอกว่าคนมันไม่เท่ากัน
คือจะให้ฐานันดรที่สามมีสิทธิเลือกตั้งเท่ากับขุนนาง พระ เจ้าไม่ได้
เพราะคนไม่เท่ากัน นี่คือความเชื่อก่อนที่จะเกิดประชาธิปไตย กว่าจะสู้ให้มันเชื่อว่าเท่ากันทุกคนได้มันใช้เวลาเป็นร้อยปี
ทีนี้กลับมาที่ประเด็นทำไมต้องเลือกหรือไม่เลือก
ผมคิดว่ามันอย่างนี้ มันง่ายๆเลย เรื่องคอมมอนเซ้นส์ง่ายๆเลยว่าทำไมต้องเลือก
คือประเทศเนี้ยจะปกครองด้วยระบอบอะไร มันก็ต้องเลือกเอาระบอบใตระบอบหนึ่งถูกมั้ย
คือคุณจะปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือคุณจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
คุณก็ต้องเลือกเอาระบอบใดระบอบหนึ่ง ไม่สามารถที่จะปกครองสองระบอบไปพร้อมกันๆ
เพราะถ้าทำพร้อมกันมันก็ไม่ได้ซักระบอบเลย มันจะเป็นแบบที่เป็นอยู่นี่
ก็คือประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งมันก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยอยู่ดี
เพราะฉะนั้นเนี่ยถามว่าทำไมต้องเลือก
คือโดยสถานการณ์ โดยคอมมอนเซ้นส์ก็ต้องเลือกไง เพราะว่า คุณต้องมีรัฐบาลมั้ย
คุณต้องมีรัฐมั้ย ต้องมีความเป็นชาติมั้ย ต้องมีคนมาดูแลเรื่องสาธารณะ
เรื่องส่วนรวมมั้ย ต้องมีระบอบการปกครองมั้ย
ในเมื่อมีคุณก็ต้องเลือกเอาระบอบใดระบอบหนึ่ง คุณจะบอกว่าคุณไม่เลือกไม่ได้
เพราะถ้าไม่เลือก คุณก็ไม่ต้องมีประเทศ เอาง่ายๆก็เลิกรัฐบาล เลิกอะไรไปเลย
ก็ไม่ต้องมีอะไรสักอย่าง ถ้าเกิดยังต้องมีรัฐอยู่ ต้องมีรัฐบาลอยู่
คุณก็ต้องเลือกระบอบการปกครอง ต้องเลือกคน ต้องเลือกวิธีการปกครอง
เพราะฉะนั้นจะบอกว่าไม่เลือกไม่ได้
มันเป็นประเด็นที่ยังไงก็ต้องเลือก หัวข้อวันนี้ที่เขาเชิญให้ผมมาพูดก็คือ
เลือกข้างกับเรื่องวรรณกรรมนะ กับเรื่องวรรณกรรมผมมองอย่างนี้ว่าคือ
ประเด็นเลือกไม่เลือกมันเป็นประเด็นเฉพาะเรื่อง
คือมันเป็นประเด็นในสถานการณ์ปัจจุบัน
ว่ามันมีกรณีปัญหาว่าอุดมการณ์สองอย่างปะทะกันอยู่
แล้วมันเป็นอุดมการณ์ที่เป็นเรื่องของระบอบการปกครอง มันเป็นคอมมอนเซ็นส์
เป็นสถานการณ์ของคนในสังคม สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ของคนไทยนะ
ถ้าเอาที่ปรากฏชัดก็คือตั้งแต่หลัง 2549
มันก็ชัดเจนว่าต้องเลือกซักอย่างนึง ซึ่งการต้องเลือกข้างมันเป็นเรื่องของสถานการณ์ทางศีลธรรมของคน
หมายความว่าเวลาคุณเลือกคุณต้องเปรียบเทียบสองสิ่ง
เอกับบี แน่นอนว่าคุณเปรียบเทียบแล้วคุณต้องเลือกสิ่งที่มันดีกว่า
อันนี้เป็นสถานการณ์ทางศีลธรรมที่เป็นความรับผิดชอบของคนทุกคนในสังคม
ในเมื่อสถานการณ์มันบังคับให้คุณต้องเลือกมันก็ต้องเลือก
แล้วคุณก็ต้องเลือกสิ่งที่ดีกว่าสำหรับส่วนรวม
แต่มันไม่ใช่หมายความว่าสถานการณ์นี้จะเอาไปใช้ในทุกมิตินะ
ในความเห็นของผมในเรื่องวรรณกรรม ในเรื่องศิลปะ แนวความคิดของวรรณกรรมไทยก็ดี
ของวรรณกรรมตะวันตกก็ดี เขาถือว่าศิลปะเป็นพื้นที่ที่จะต้องเป็นอิสระจากทุกสิ่งทุกอย่าง
แม้กระทั่งพันธะศีลธรรมของสังคมนั้นๆด้วย
หมายความว่าถ้าสังคมมีกฎเกณฑ์
กฎหมาย วัฒนธรรม จารีตอย่างนี้ ในสังคมที่เจริญแล้วเขาอนุญาตให้เรื่องวรรณกรรม
เรื่องศิลปะ ฝ่าฝืนจารีตหรือศีลธรรมหรือกฎเกณฑ์ใดๆก็ตามได้
ในพื้นที่ของศิลปะทำได้นะไม่ผิด เพราะฉะนั้นระบบของตะวันตกจึงไม่มีเซ็นเซอร์ไง
ประชาธิปไตยไม่สนับสนุนระบบเซ็นเซอร์ แม้ว่างานนั้นจะแรงมากๆ
แม้ว่างานนั้นจะทำให้คนในสังคมไม่พอใจมากๆ เขาจึงอนุญาตนะ นี่คือสำนึกที่เป็นอยู่
เพราะฉะนั้นการพูดว่าศิลปะหรือวรรณกรรมต้องเลือกข้าง เป็นความความเห็นที่ไม่ตรงประเด็นในความเห็นของผมนะ
สถานการณ์ที่ผ่านมา ถามว่าถ้านักเขียนที่จะต้องออกมาแสดงตัวในลักษณะเลือกข้าง
ผมมองอย่างนี้ว่าเขาแสดงตัวในฐานะของสมาชิกของสังคมคนหนึ่ง คือเขาเป็นคน
เป็นประชาชน เป็นสมาชิกของสังคมนี้ แล้วสังคมนี้มันมีปัญหาอย่างนี้ ก็ออกมาเลือก
แต่ไม่ได้หมายความว่าพื้นที่ทางวรรณกรรมจะต้องเลือกข้าง
อันนี้เป็นสิ่งที่ผมไม่เห็นด้วย เพราะว่ามันเป็นไปไม่ได้หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
ถ้าเราประกาศออกไปรับรองว่าไม่มีสังคมวรรณกรรมสากลที่ไหนจะยอมรับนะ
เพราะว่าพื้นที่ทางวรรณกรรมมันเป็นพื้นที่ที่จะต้องเป็นอิสระ
เป็นพื้นที่อนุญาตว่าคุณจะเลือกก็ได้ ไม่เลือกก็ได้ เป็นเสรีภาพทางศิลปะ
แต่ในความหมายของ เวลาที่เราถามนักเขียน ถามคนอื่น ผมถามเพื่อนนักเขียนบางคน
ผมไม่ได้ถามในฐานะนักเขียนหรอก ผมถามว่าในฐานะคุณเป็นประชาชน
เป็นคนที่อยู่ในสถานการณ์ แล้วมันต้องเลือก คุณก็ต้องเลือก
หมายถึงว่าเลือกในความเป็นมนุษย์ของคุณ ที่เป็นสังกัดอยู่ในรัฐชาตินี้
เป็นประชาชนของประเทศนี้ แล้วมันมีสถานการณ์นี้ คุณต้องเลือก
แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องทำให้วรรณกรรมเป็นการเลือกข้าง
อันนั้นเป็นอีกประเด็นนึงที่ต้องถกเถียงกันยาวนะ
ผมว่าปัญหาอย่างที่พี่ป้อมพูดมันน่าจะเป็นปัญหาของนักเขียนรุ่น
14 ตุลารึเปล่า คือปัญหาไม่ใช่ว่าเขาเขียนตามที่เขาเห็นแล้ว ผมคิดว่าปัญหามันคือ
เขาบิดเบือน ไม่ใช่รับใช้ความเชื่อ ความเชื่ออาจจะบางส่วน
แต่ว่าผมคิดว่าเป็นการรับใช้สถานภาพทางสังคมของตัวเอง คือจริงๆแล้วพูดเรื่องวรรณกรรมไทยมันยาวเหมือนกัน
แต่ผมมองว่าคือวรรณกรรมไทยนี้มันมีจุดสำคัญสองส่วนหลักๆ
ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่เราพูดอยู่ ในเชิงประวัติศาสตร์นะ
ในช่วง 14 ตุลา
-นี่กำลังพูดถึงวรรณกรรมนะ กระแสที่เกิดขึ้นในช่วง 14 ตุลา
ประเด็นหลักหรือแรงขับเคลื่อนหลัก อันดับแรกเลยคือมันมาจากกระแสการเรียกร้องเสรีภาพที่เกิดขึ้นทั่วโลกในยุคซิกตี้
วัฒนธรรมที่เรียกว่าวัฒนธรรมบุปผาชน ที่คุณรงค์ วงษ์สวรรค์ไปถึงซานฟรานซิสโก
นักเขียนกลุ่มที่ เรียกว่า
กลุ่มแสวงหาความหมาย กลุ่มคุณสุชาติ คุณวิทยากร เชียงกูร
เกิดขึ้นมาด้วยแรงขับเคลื่อนอันนี้ เพราะก่อนหน้านั้นวัฒนธรรมทางปัญญา
โดยเฉพาะวรรณกรรมซีเรียสมันถูกตัดตอนไปตั้งแต่ 2500 ยุคสฤษดิ์
ก็เป็นอีกช่วงประวัติศาสตร์
พูดง่ายๆก็คือคณะราษฎร์ถูกเขี่ยตกจากเวทีการเมือง
แล้วก็สฤษดิ์ขึ้นครองอำนาจ ซึ่งก็เป็นช่วงระยะเวลาค่อนข้างยาวนานต่อเนื่อง
ต่อเนื่องกันมาสิบกว่าปีที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญครั้งแรก
มันเกิดสภาวะที่เรียกว่า อาจารย์สมศักดิ์
เจียมธีรสกุล แกใช้คำว่า สถาบันกษัตริย์เป็นพาร์ทเนอร์ชิพกับทหาร
เพราะฉะนั้นพลังทางปัญญาต่างๆ มันถูกแช่แข็งเอาไว้
แล้วจุดเริ่มต้นที่มันมากระตุ้นมันก็คือกระแสต่อต้านสงครามเวียดนาม
กระแสบุปผาชนโลกในยุคซิกตี้นี่แหละ ที่ทำให้เกิดคนรุ่นคุณสุชาติ
คนรุ่นคุณวิทยากรพวกนี้ขึ้นมา
แล้วก็จุดประกาย รุ่นพวกนี้มันเป็นรุ่น 14 ตุลาใช่มั้ย ก็จุดประกายให้เกิด
14 ตุลา แล้วก็ค่อยกลับไปต่อรากกับพวกนักเขียนรุ่นจิตร รุ่นก่อน 2500
คือกลับไปค้นพบใหม่ งานวรรณกรรมนับจากกระแส 14 ตุลา มันเกิดขึ้นมาอย่างนี้
แล้วมันพีคที่ 14 ตุลา เสร็จพอมา 6 ตุลามันพัง มันพังในแง่มันเจ็บปวด มันเกิดการสังหารหมู่
เพราะฉะนั้นไอ้สภาพทางวรรณกรรมที่มันเป็นอยู่ในปัจจุบัน
ผมเรียกมันว่ามันเป็นเงื่อนไขของปมที่ยังไม่ถูกคลาย
ปมทางวรรณกรรมหลัง
6 ตุลา พูดง่ายๆ ก็คือปีกประชาธิปไตยหลัง 6 ตุลาต้องถือว่าเป็นฝ่ายแพ้
แล้วก็มีบาดแผล แล้วก็วนอยู่กับการเลียแผลเป็นเวลาสิบถึงยี่สิบปี
จนกระทั่งส่งผลมาถึงคนรุ่นผมนะ นี่คือคนรุ่นเสกสรรค์ รุ่นผมเกิดมาเนี่ย
หมายถึงเกิดในทางวรรณกรรมนะ หมายถึงว่าเริ่มรู้อะไรเป็นอะไร
แล้วก็เริ่มมีงานเขียนออกมา มันไม่ทันในประวัติศาสตร์ 14 ตุลา หรือ 6 ตุลา
แต่มันได้เห็นสภาวะจิตแบบ romanticism คือ โรแมนติคนิยมที่เจ็บปวดกับบาดแผลในอดีตของคนรุ่นก่อน ทำให้วรรณกรรมในรุ่นเนี้ยมีลักษณะอย่างนึง
ก็คือวรรณกรรมของคนรุ่นผมที่ฝรั่งเรียกว่าลอสเจนเนอร์เรชั่น
คือมันไม่ไว้วางใจความดีงามถูกผิด เพราะว่ามันเห็นความเจ็บปวดของ 6 ตุลา
มันไม่ได้เห็นเองนะ มันเห็นคนรุ่นก่อนเจ็บปวดกับ 6 ตุลา
แล้วมันเลยเกิดสภาวะจิตที่เรียกว่าไม่ไว้วางใจความดีงามถูกผิด
นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นภาพรวมของวรรณกรรมในทศวรรษ 2540 คือหลังวิฤตเศรษฐกิจนะ
เป็นภาพรวมมาอย่างนี้
จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร
2549 เพราะฉะนั้นเนี่ย จะเห็นว่า ไอ้คนรุ่นใหม่ที่มันไปให้ดอกไม้ทหารที่ออกมาทำรัฐประหาร
มันคือคนรุ่นที่หลงไปกับอะไรบางอย่าง
เรียกว่าหลงทางส่วนนึง แต่ผมไม่อยากจะโทษเด็กรุ่นใหม่ที่ไปให้ดอกไม้ ประเด็นสำคัญก็คือว่า ปัญหามันคือคนรุ่นก่อน ตั้งแต่หลัง
6 ตุลาจนถึงมีตัวตนทางวรรณกรรมขึ้นมาด้วยการประนีประนอมกับเจ้า จนได้สถานะอะไรบางอย่าง
มีบารมี มีอะไรทางวรรณกรรม แล้วมันไปสนับสนุนการรัฐประหาร พูดง่ายๆก็คือ
ผมคิดว่าคำถามที่เราชอบถามกันเช่นว่า หนึ่ง ทำไมไม่เลือกข้าง สอง
ทำไม่มีวรรณกรรมสะท้อนสังคม อะไรแถวๆนี้นะ ผมว่าอาจจะเป็นคำถามที่ไม่ตรงประเด็น
ถ้าถามให้ตรงประเด็นกว่านะ ไปดูไอ้วรรณกรรมที่มันอ้างตัวเองว่าเป็นเพื่อชีวิต
ไปดูวรรณกรรมที่มันอ้างตัวเองว่าสะท้อนสังคม
ไปดูวรรณกรรมที่มันอ้างตัวเองว่าสร้างสรรค์ ทั้งหมดไปไล่ดูเลยนะ
มันเป็นวรรณกรรมที่ไม่มากก็น้อยนะ
มันรับใช้ขนบจารีตนิยมที่มันเชียร์เจ้าส่วนใดส่วนหนึ่งทั้งนั้นเลย เพื่อชีวิตนี่แหละครับที่ไปเชียร์
ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ซับซ้อนนะ
สถานการณ์แบบนี้ สภาพอย่างนี้มันเป็นผลผลิตหนึ่งของวรรณกรรมหลัง 6 ตุลา
สิ่งที่เป็นคุณลักษณะของวรรณกรรมหลัง 6 ตุลา ที่มันก่อให้เกิดผลผลิตตามมาเหล่านี้
หลายอย่างมันคือการไม่หันไปเผชิญหน้ากับความจริง เพราะความจริงมันเจ็บปวดส่วนนึง
สำหรับคนบางกลุ่มมันเจ็บปวดเกินไปที่จะไปเผชิญหน้า บางส่วนเพราะจะเรียกว่าอะไรดี
กลัว เข้าร่วมกับผู้ชนะดีกว่า หรืออะไรทำนองนี้
ช่วงถาม-ตอบ
ผู้ฟังคนที่หนึ่ง
: คือจะเรียนถามนะคะว่าอย่างตอนนี้ ศิลปินนะคะไม่ว่าจะออกมาเป็นบทกวีหรือบทเพลงในปัจจุบัน
ออกมาทางฝ่ายที่เลือกข้างแล้วที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
หรืออาจจะสื่อออกมาว่าเป็นเพื่อชีวิต หรืออะไรก็แล้วแต่
แต่ได้รับการยอมรับกับสังคมส่วนใหญ่ เช่นเป็นศิลปินแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็นบทกวี
อย่าง ขอเอ่ยนามนะคะ อย่างเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ หรือว่าเป็นบทเพลงอย่าง หงา
คาราวาน สุรชัย นะคะ เราคิดว่าในส่วนนั้นไม่ได้เป็นประชาธิปไตยจริงๆ
แล้วยังฝ่ายของศิลปินที่ในฝ่ายเป็นประชาธิปไตยจริงๆที่เห็นว่าเป็นฝ่ายที่ตรงกันข้ามแบบนี้
อย่างพวกเราที่เรียกร้องนี่ จะมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ความเป็นจริงปรากฏ
เพื่อไม่ให้เค้าบิดเบือน
เพราะว่าในส่วนนี้ด้วยสื่อปัจจุบันก็เป็นว่าศิลปินแห่งชาตินะ
หรือด้วยอำนาจอะไรก็แล้วแต่เนี่ย มันออกมาเป็นว่าฝ่ายเขา
ฝ่ายที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเนี่ยหลอกสังคมคนส่วนใหญ่ที่ยังไม่ได้เลือกข้างหลงเชื่อ
ทีนี้คำถามก็คือว่า ทางฝ่ายที่เป็นประชาธิปไตยจริงๆจะทำอย่างไร
หรือจะมีวิธีการแก้มือ หรือทำยังไงให้คนที่ยังไม่ได้เลือกข้างเลย
หรือว่ามองไม่เห็นเนี่ย ได้เห็นชัดและได้ตาสว่างว่า ความจริงคืออะไรค่ะ
คือเรียนถามว่าจะทำยังไงนะคะ
วาด รวี : คือ
ผมคิดว่าการต่อสู้ในเชิงวัฒนธรรมผ่านศิลปะวรรณกรรมมันก็เหมือนกับการเมืองในมิติอื่นๆในเวลานี้
ปัญหาที่เป็นอยู่ตอนนี้คือโครงสร้างการเมือง การปกครองของเราเนี่ย
มันเป็นประชาธิปไตยแต่เปลือก สิ่งที่เป็นอยู่ก็คือกลไกของรัฐ
ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงวัฒนธรรมก็ดี ที่ให้รางวัลศิลปินแห่งชาติ หรือแม้กระทั่งกองทัพ
หรือว่าอะไรต่างๆที่มันเป็นกลไกของรัฐทั้งหมด
ก็เป็นเครื่องมือของไอ้ระบอบการปกครองที่เป็นอยู่นี้
ที่เป็นลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยแต่เปลือก แต่โดยข้างในมันไม่เป็น
เพราะฉะนั้นผมมองว่า
มันเป็นอย่างนี้มาตั้งนานแล้วเพียงแต่ว่าแต่ก่อนหน้านี้เราไม่รู้สึก
เรามารู้สึกเพราะเราตาสว่างไง แล้วก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นอย่างงี้
ทีนี้เนี่ยถามว่าจะทำยังไง ก็ทำอย่างที่เราทำอยู่ เพราะว่าถ้าเกิด
ถ้าไปพูดถึงการเมืองในภาพหลักเนี่ย ไปพูดถึงกระทรวงวัฒนธรรม
ผมถามว่าพรรคเพื่อไทยจะทำอะไร ผมก็นึกไม่ออก
เพราะดูยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยแล้วมันก็ไม่มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน คือ
ไม่ใช่ว่าไม่มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน
ต้องพูดงี้ว่าแม้กระทั่งว่าตัวขับเคลื่อนหลักของพรรคเพื่อไทยเอง
หรือแม้แต่คุณทักษิณเอง ซึ่งถามว่าพอไปอยู่ในจุดนั้น
โอเคส่วนที่เค้าทำได้ทำไม่ได้ด้วยสภาพทางการเมือง ข้อจำกัดนี่อีกเรื่องหนึ่งนะ
แต่ว่าโดยตัวของเขาเอง หลักการในเรื่องประชาธิปไตย ความเชื่อหรือความคิด
วิธีคิดของเขาเองเนี่ย ผมก็คิดว่ามันไม่ได้แข็ง
ทีนี้ว่าถ้าตัวตัวคนที่มันไปกุมอำนาจเองที่อยู่ปีกประชาธิปไตย
แต่ว่าระบบคิดในเรื่องนี้รากมันยังไม่ลึก มันยังไม่แข็งเอง
มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนะ เพราะฉะนั้นเนี่ย สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ผมเรียนได้เลยว่า
คือ อันนี้คุยกับหลายคน คุยด้วยกันกับทั้งเพื่อนนักเขียน นักวิชาการ คือไอ้สิ่งที่มันเป็นอยู่
มันเหมือนกับตอนที่ตะวันตกกำลังสร้างประชาธิปไตยเมื่อสองร้อยกว่าปีที่แล้วเลย
ไม่ได้ต่างกันเลย เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่เรื่องที่จะจบได้ภายในเวลาไม่กี่ปี ไม่มีทาง
ผู้ฟังคนที่สอง :
สวัสดีค่ะ ดิฉันเป็นคุณครูนะคะ แล้วก็มีความรู้สึกว่างานเนี้ยสุดยอดเลยค่ะ
นี้มาจากโคราชเลยนะคะ อยากจะเรียนถามว่า
เราจะมีวิธีการยังไงที่จะไปโน้มน้าววัยรุ่นที่เป็นนักเรียน
ให้มาอยู่กับพวกเราให้เยอะที่สุด เพราะว่าเดี๋ยวนี้มีแต่คนสี่สิบอัพ สามสิบอัพ
ห้าสิบอัพใช่มั้ยคะ เราก็จะต้องโรยราไป
แต่เด็กที่เรียนมหาลัยสมัยนี้ไม่เหมือนสมัยก่อน เขาไม่ลุกขึ้นมาสู้
เหมือนเสกสรรค์พูดในวันที่ 13 ใช่มั้ยคะ บอกว่าเด็กมหาวิทยาลัย
เหมือนโรงเลี้ยงเด็กของคนชั้นกลาง ดิฉันก็ไปพูดกับลูกสาวนะคะ ลูกสาวเรียนอยู่ธรรมศาสตร์
พวกเธอรู้มั้ยเค้าบอกว่าพวกเธอเป็นโรงเลี้ยงเด็กของคนชั้นกลาง
พวกเธอไม่เห็นออกมาสู้อะไรเลย แม่เนี่ยเชียร์ๆ พวกเธอก็เดินหนีไป ไม่เคยมาดู
ไม่เคยมาฟังกับแม่เลย เรื่องการเมือง ดูแต่อะไรก็ไม่รู้ เค้าก็บอกว่า
อุ๊ยจะออกไปสู้ทำไมละแม่ ไปสู้แล้วก็ตาย เค้าบอกอย่างนี้ เราก็เออใช่นี่หว่า
แต่ว่าเราก็ไม่ถึงกับเป็นแนวหน้านะ เราเป็นแนวหลังแค่ส่งเสริมนะคะ
เพราะฉะนั้นอยากจะเรียนถามท่านผู้รู้ทั้งสามท่านนะคะว่า
ท่านจะมีจิตวิทยายังไงให้เราสามารถไปโน้มน้าวนักเรียนที่เค้ากำลังเป็นวัยรุ่นให้มาอยู่
ให้รักประชาธิปไตย ให้รู้จักประชาธิปไตยจริงๆ
ให้ทั้งสามท่านตอบเลยค่ะว่าเราจะมีจิตวิทยาอะไรในการไปโน้มน้าว
เพราะเราต้องถอยหลังเข้าคลองไปทุกวัน แล้ววัยรุ่นเค้าไม่สนเลยนะคะ ขอบคุณค่ะ
วาด รวี :
ผมค่อนข้างเห็นแบบเดียวคล้ายๆกับพี่ป้อมนะ ก็คือผมว่าอย่างงี้
ปัญหาคือฝ่ายที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
ผมคิดว่ามันโยงกับปัญหาคำถามก่อนหน้านี้ด้วย
ผมคิดว่ามันไม่มีความจำเป็นต้องมองไปที่คนอย่างอะไร ศิลปินแห่งชาติ เนาวรัตน์
พงษ์ไพบูลย์ สุรชัยอะไร มันไม่จำเป็นนะ ประเด็นก็คือว่า
ฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามประชาธิปไตยโดยโครงสร้างจริงๆ มันไม่ใช่ไอ้พวกนี้ อันนี้ข้อที่หนึ่ง
ข้อที่สองก็คือว่า ไอ้พวกนี้มันไม่มีความหมายหรอก ถ้าโครงสร้างตรงนี้มันพังลงมา
อันที่สามก็คือว่า ไอ้โครงสร้างแบบนี้มันอยู่ไม่ได้อยู่แล้วนะในโลกสมัยใหม่
คือมันเป็นปฏิปักษ์กับเสรีภาพ ความเสมอภาค มันไม่สามารถที่จะอยู่ได้ในโลกสมัยใหม่
คือมันต้องอยู่แบบแปลงกายอย่างที่อยู่ในทุกวันนี้ แต่แปลงกายตอนนี้คือหางโผล่แล้ว
คนมันรู้แล้ว คือผมถามจริงๆว่า เดินออกไปท้องถนนที่ไหนก็ได้ สยามแสควร์ จุฬา
ที่ไหนก็ได้ ถามว่าให้คุณไปอยู่แบบกราบตีนแบบเก่าเนี่ย เป็นผงละอองอะไรเนี่ย
คุณเอาเหรอ ถามเนาวรัตน์ ก็ได้ ถามซูโม่ตู้ก็ได้ เอามั้ยละ ไปอยู่แบบเก่า
เป็นผงฝุ่นละอองใต้ตีน คุณเอามั้ยละ มันเอามั้ยละ มันไม่เอาหรอก
คือมันก็เต้นเหยงๆไปงั้นแหละ ถามว่าให้มันย้อนกลับไปอยู่ในยุคสมัยนั้น
มันเอารึเปล่า มันไม่มีใครเอาแล้วในโลกทุกวันนี้ คือจะบ้าเหรอ
คือแม้แต่ไอ้พวกที่เชียร์จ้งเชียร์เจ้าเนี่ย ถามเหอะ
ถ้าคุณไปอยู่อย่างงั้นใช้กฎหมายตราสามดวง คุณเอามั้ยเล่า คุณไม่เอาหรอก
ไอ้พวกนี้มันแค่จำอวดนะ ประเด็นก็คือมันเป็นเรื่องของมันต้องเปลี่ยนแน่ๆ
แต่จะเปลี่ยนยังไงให้มันเป็นคุณกับประชาธิปไตยมากที่สุดเนี่ย
เราจับดูตรงนั้นไว้นะครับ
Comments
Post a Comment