ตลก รัฐธรรมนูญ

2022 cover










หรือ ตุลาการ และ อำนาจเผด็จการ จะเป็นพันธมิตรชั่วนิรันดร หรือ กฎหมาย และ ความยุติธรรม จะเป็นเส้นขนานที่ไม่มีวันบรรจบ? หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของหนึ่งในอาจารย์กฎหมายที่อายุน้อยที่สุดของคณะนิติราษฎร์ น.บ. เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ธรรมศาสตร์ วิจารณ์บทบาทและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งในช่วงก่อนและหลังการรัฐประหารปี 2557 ตั้งคำถามกับกฎหมายและการทำหน้าที่ของตุลาการอย่างถึงราก


หนังสือ ตลก รัฐธรรมนูญ
ผู้เขียน ปูนเทพ ศิรินุพงศ์
สำนักพิมพ์ Shine Publishing House
เวลาพิมพ์ มีนาคม 2016 recover 2022
ISBN 9786167939049
ขนาดรูปเล่ม 152x227x20 มม.
เนื้อใน กระดาษถนอมสายตา พิมพ์ขาวดำ
ปก กระดาษอาร์ตการ์ด
จำนวนหน้า 324 หน้า
ราคาปก 325 บาท


โปรยปกหลัง

ปูนเทพมีความรู้ความสามารถในทางนิติศาสตร์ จับประเด็นได้ดีเยี่ยม ค้นคว้าข้อมูลอย่างละเอียดลึกซึ้ง เขียนหนังสือได้สละสลวย อภิปรายแสดงเหตุผลโต้แย้งได้อย่างแหลมคม ก่อนแสดงความเห็นในเรื่องใด เขาจะทำการบ้านตระเตรียมข้อมูลมาอย่างดี ที่สำคัญเขามีความคิดทางการเมืองสนับสนุนนิติรัฐ-ประชาธิปไตย

ปิยบุตร แสงกนกกุล


ในเมื่อหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญถือเป็นจิตวิญญาณพื้นฐานของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ดูเหมือนบรรดาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหลายปราศจากซึ่งแรงจูงใจในการรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญโดยสิ้นเชิง แตกต่างไปจากการทำหน้าที่อย่างล้นเกินในช่วงก่อนการรัฐประหารที่อวดอ้างความเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญอย่างยิ่งยวด และดูเหมือนว่าศาลรัฐธรรมนูญนี้จะยังคงอยู่ต่อไปในรัฐธรรมนูญใหม่ที่จัดทำขึ้น โดยจะเพิ่มอำนาจมากขึ้นไปอีก บนความรับผิดชอบและการตรวจสอบในระดับที่น้อยมากหรือแทบไม่มีเลยจากสาธารณะหรือองค์กรที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย ดังนี้ จากผู้มีส่วนทำลายรัฐธรรมนูญในคราวก่อนก็จะแต่งตัวมาเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญอีกครั้ง จากผู้มีส่วนก่อสิ่งที่เรียกว่าวิกฤตทางรัฐธรรมนูญในคราวก่อนก็จะแต่งตัวมาเป็นองค์กรแก้วิกฤต

ปูนเทพ ศิรินุพงศ์


คำบรรยายแบบย่อ

รวมบทความคัดสรรของปูนเทพ ศิรินุพงศ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหนึ่งในคณะนิติราษฎร์  เนื้อหาประกอบด้วย 6 ส่วน คือ บทวิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและข้อถกเถียงทางรัฐธรรมนูญในช่วงก่อนรัฐประหาร 22 พ.ค. 57, ทฤษฎีรัฐธรรมนูญในบริบทความสับสนหลังรัฐประหาร 22 พ.ค. 57, บทวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ 58, บางข้อพิจารณาเชิงนิติปรัชญาและตุลาการศึกษาในสถานการณ์รัฐประหาร, ข้อพิจารณาว่าด้วยอำนาจและสถานะของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย และมายาคติเกี่ยวกับสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 


สารบาญ       
         
คำนำเสนอ: สนามกฎหมาย คือ ที่แห่งการแข่งขันแย่งชิงเพื่อชี้ขาดว่าอะไรคือกฎหมาย  ๘
บทนำ  ๑๖



ตลกรัฐธรรมนูญ บทวิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และข้อถกเถียงทางรัฐธรรมนูญ ก่อนรัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ๕๗



ศาลรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  ๒๘

การสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ๓๑

ประเด็นทางกฎหมายรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องวุฒิสภา  ๓๔

ประชามติกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  ๓๗

ไม่มีผู้พิพากษา ถ้าไม่มีผู้ฟ้อง  ๔๐

มาตรา ๖๘, ศาลรัฐธรรมนูญ และพระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมาย  ๔๓

ศาลรัฐธรรมนูญ – กรรมการหรือผู้เล่น?  ๔๖

ยุคสมัยแห่งการเผาตำราเรียน  ๔๙

เจ้าสำนัก “ทฤษฎีนายกฯ สุญญากาศ”  ๕๒

ไม่ได้แค่ปฏิเสธการเลือกตั้ง แต่ปฏิเสธประชาธิปไตย  ๕๕

ความสำคัญของการเลือกตั้ง “๒ กุมภา ๕๗”  ๕๘

เลือกตั้ง vs. เลื่อนตั้ง  ๖๑

“ตลก” บนบัลลังก์  ๖๔

สิทธิไม่เลือกตั้ง ไม่ใช่สิทธิขัดขวางการเลือกตั้ง!!!  ๖๗

อ่านคำวินิจฉัย “ตลก” รัฐธรรมนูญ: ใบอนุญาตเลื่อน/ล้มการเลือกตั้ง?  ๗๐

เลือกตั้ง ๒ กุมภา ๕๗ ไม่โมฆะ!!!  ๗๓

รัฐธรรมนูญ – ตีความอย่างไร  ๗๖

การชุมนุม...อันจะละเมิดมิได้  ๗๙

ใบปลิวคณะ “ตลก” รัฐธรรมนูญ ล้มเลือกตั้ง  ๘๒

ผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญคนสุดท้าย  ๘๕

รัฐธรรมนูญของคน (จะ) ตาย  ๘๘

การเลือกตั้งที่เป็นธรรม?  ๙๑

แจ้งวัฒนะคาเฟ่  ๙๔

ไม่มี “นายกรัฐมนตรีเถื่อน” โดยอนุโลม  ๙๗



รัฐธรรมนูญคืออะไร? ทฤษฎีรัฐธรรมนูญในบริบทความสับสน หลังรัฐประหาร ๒๒ พฤษภาคม ๕๗



อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ  ๑๐๔

รัฐธรรมนูญคืออะไร?  ๑๐๗

รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว?)’๕๗  ๑๑๐

“รัฐธรรมนูญ” กับ “จารีตประเพณี”  ๑๑๓

รัฐธรรมนูญชั่วคราว ๕๗ กับหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ  ๑๑๖

การจัดทำรัฐธรรมนูญ – กระบวนการและความชอบธรรม  ๑๑๙

หลักการแห่งรัฐธรรมนูญ (Constitutional principles)  ๑๒๒

สิทธิเสรีภาพภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วคราว '๕๗  ๑๒๕

อ่านมาตรา ๔๔ ในฐานะบรรทัดฐานทางกฎหมาย  ๑๒๘

การแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อสร้าง “ประชามติที่เป็นประชาธิปไตย”  ๑๓๑

ประชามติต่ออายุ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง”  ๑๓๔

พระราชอำนาจยับยั้งร่างรัฐธรรมนูญ  ๑๓๗

นัยของบทบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญชั่วคราว '๕๗  ๑๔๐

รัฐธรรมนูญ (ใหม่) กับกฎหมาย (เก่า)  ๑๔๓

สภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน  ๑๔๖



รัฐธรรมนูญเพื่อระบอบ ประชาธิปไตย...บางบทวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ '๕๘


ระบบรัฐสภากับการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีทางตรง  ๑๕๒

ผู้ออกแบบระบบเลือกตั้ง ที่ไม่ให้ค่า “สิทธิเลือกตั้ง”  ๑๕๕

ประเด็นทางกฎหมายรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ “รัฐบาลรักษาการ”  ๑๕๘

รัฐบาล (คนกลาง?) รักษาการ – ประสบการณ์จากปากีสถานและบังกลาเทศ  ๑๖๑

ว่าด้วยการกำหนดวันเลือกตั้ง – มาตรฐานสากล กับความฝันของ กกต. ไทย  ๑๖๔

ที่มา ส.ว. – เลือกตั้งทางอ้อม, สรรหา หรือลากตั้ง?  ๑๖๗

ประชาชนชาวไทย - ราษฎรหรือพลเมือง?  ๑๗๐

ปัญหาความ (ไม่) เป็นกฎหมายของรัฐธรรมนูญ  ๑๗๓

สิทธิเสรีภาพ – ผักชีแห่งรัฐธรรมนูญไทย?  ๑๗๖

The Council of the Revolution ในโปรตุเกส - ต้นแบบความคิดของ คปป.?  ๑๗๙

“Mixed constitution หลงยุค” ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ (๑)  ๑๘๒

“Mixed constitution หลงยุค” ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ (๒)  ๑๘๕

รัฐธรรมนูญไทย...เอาไงดี  ๑๘๘



ตุลาการ รัฐประหาร: พันธมิตรชั่วนิรันดร์กฎหมาย ความยุติธรรม: เส้นขนานที่ไม่มีวันบรรจบ? บางข้อพิจารณาเชิงนิติปรัชญา และตุลาการศึกษาในสถานการณ์รัฐประหาร



กฎหมายกับความขัดแย้งทางการเมือง  ๑๙๔

เมื่อผู้พิพากษา “ผิดธง”  ๑๙๗

ทางเลือกของผู้พิพากษาเมื่อต้องตัดสินคดีการรัฐประหาร  ๒๐๐

เมื่อตุลาการปฏิเสธรัฐประหาร: คำพิพากษาศาลฟิจิ  ๒๐๓

ศาลตุรกีล้มแผนการรัฐประหาร  ๒๐๖

การจัดระเบียบกองทัพและศาลรัฐธรรมนูญหลังกรณี “ลํ้าเส้น” ประชาธิปไตยในตุรกี (๑)  ๒๐๙

การจัดระเบียบกองทัพและศาลรัฐธรรมนูญหลังกรณี “ลํ้าเส้น” ประชาธิปไตยในตุรกี (๒)  ๒๑๒

ผลของประชามติ ๒๐๑๐ กับการรัฐประหาร ๑๙๘๐ ในตุรกี  ๒๑๕

ในท่ามกลางอาวุธ (นัก) กฎหมายก็เงียบเสียงลง  ๒๑๘

ความอยุติธรรมในนามของกฎหมาย (๑)  ๒๒๑

ความอยุติธรรมในนามของกฎหมาย (๒)  ๒๒๔

รัฐประหารประชาธิปไตย กรณีปฏิวัติคาร์เนชั่นในโปรตุเกส  ๒๒๗

คำพิพากษาที่ไร้คุณค่าแห่งสิทธิเสรีภาพ  ๒๓๐

ทางเลือกของผู้พิพากษา เมื่อต้องตัดสินคดีกรณี “ปฏิเสธ” คำสั่งคณะรัฐประหาร  ๒๓๓

องค์กรตุลาการกับความผูกพันต่อ “ความยุติธรรม”  ๒๓๖

คนดีไม่กลัวกฎหมาย?  ๒๓๙

ความผิดต่อ “สิ่งที่เรียกว่ากฎหมาย”  ๒๔๒

โทษประหารชีวิต: มุมมองทางนิติปรัชญา  ๒๔๕



ราชอาณาจักรประชาธิปไตย ข้อพิจารณาว่าด้วยอำนาจและสถานะของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย



พระราชอำนาจวีโต้ กับธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ  ๒๕๐

หมิ่นฯ รัชกาลที่ ๔!!!  ๒๕๓

Royal Prerogative นอก/เหนือรัฐธรรมนูญ?  ๒๕๖

หลัก “pouvoir neutre” กับพระราชอำนาจในสถานการณ์วิกฤต  ๒๕๙

ข้อความคิดทางกฎหมายว่าด้วยการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ  ๒๖๒

ข้อความคิดทางรัฐธรรมนูญว่าด้วยพระราชอำนาจในระบอบประชาธิปไตย  ๒๖๕

Walter Bagehot กับข้อพิจารณาว่าด้วยพระราชอำนาจตามประเพณี  ๒๖๘

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ๒๗๑



มายาคติเกี่ยวกับสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘ จาก ขอบเขตการใช้สิทธิ สู่ สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญและมาตรา ๖๙ กับแนวความคิดว่าด้วยสิทธิต่อต้านขัดขืนผู้ปกครอง


มายาคติเกี่ยวกับ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” (๑)  ๒๗๖

มายาคติเกี่ยวกับ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” (๒)  ๒๗๙

มายาคติเกี่ยวกับ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” (๓)  ๒๘๒

มายาคติเกี่ยวกับ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” (๔)  ๒๘๕

มายาคติเกี่ยวกับ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” (๕)  ๒๘๘

มายาคติเกี่ยวกับ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” (๖)  ๒๙๑

มายาคติเกี่ยวกับ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” (๗)  ๒๙๔

มายาคติเกี่ยวกับ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” (๘)  ๒๙๗



ภาคผนวก

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการเลือกตั้งวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗  ๓๐๒


เกี่ยวกับผู้เขียน

ปูนเทพ ศิรินุพงศ์จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยเกรดเฉลี่ยระดับเกียรตินิยมอันดับ 1  ศึกษาต่อนิติศาสตร์ในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยมุนสเตอร์ ประเทศเยอรมนี และจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ประเทศเยอรมนี


บางส่วนจากคำนำ

โครงสร้างของระบบกฎหมายก่อตัวขึ้นจากความสัมพันธ์ทางอำนาจ การต่อสู้แย่งชิงอำนาจในการกำหนดกฎเกณฑ์และรูปแบบของการชี้ขาดข้อพิพาทในทางกฎหมาย นักกฎหมายพยายามอธิบายว่าระบบกฎหมายเป็นระบบปิด อิสระ ไม่ขึ้นกับข้อพิจารณาอื่นทางสังคม มีวัตถุแห่งการศึกษา คือ กฎหมายเท่านั้น ไม่รวมถึงศีลธรรม ศาสนา ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ หรือบริบททางสังคม อย่างไรก็ตาม เอาเข้าจริงแล้ว กฎหมายไม่ได้บริสุทธิ์ถึงเพียงนั้น แต่วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ หรือคุณค่าต่างๆ ในสังคม ได้ถูกแปลงให้กลายเป็นรูปของกฎหมายไปหมดแล้วโดยผ่านการกระทำของผู้เล่นในสนามกฎหมายที่เข้ายึดครองอำนาจในการชี้ขาดว่าอะไรคือกฎหมาย

ภายใต้อุดมการณ์ “นิติรัฐ” ที่ครอบงำอยู่ในปัจจุบันนี้ ทำให้ “กฎหมาย” กลายเป็นใหญ่ อย่างไรก็ตาม กฎหมายเป็นเพียงตัวอักษรเท่านั้น มันจะมีผลบังคับใช้ได้ก็ต้องมี “คน” ผู้มีอำนาจมาใช้และตีความ ดังนั้น เมื่อ “กฎหมาย” กลายเป็นใหญ่ “นักกฎหมาย” ก็จึงเป็นใหญ่ตามมาด้วย ในฐานะที่นักกฎหมายเป็นผู้กุมอำนาจในการใช้และตีความกฎหมายนั่นเอง

Comments