วรรณกรรมหลังรัฐประหาร



จัดโดยกลุ่มกวีราษฎร์ อนุสรณ์สถาน สี่แยกคอกวัว วันที่ 16 มกราคม 2555



พื้นที่ที่เป็นวรรณกรรมคือการทำงานเขียนทางปัญญา ซึ่งใช้ภาษานะครับ ในที่นี้ผมจะใช้คำว่า Discourse ในความหมายเดิมนะ ไม่ใช่ในความหมายแบบ Post-modern คือ Discourseในความหมายของโวหารทางปัญญา

วรรณกรรมไทยสิ่งที่เป็น Discourse ที่เรียกว่าโวหารทางปัญญาหรือพลังทางปัญญา ที่ขับเคลื่อนผ่านภาษา ผ่านงานเขียน ผ่านการใช้จินตนาการ ใช้อะไรก็แล้วแต่ ในวงวรรณกรรมไทยมันมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญอยู่จุดหนึ่ง คือ 6 ตุลา

6 ตุลา เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงนะ ถ้าจะให้ท้าวความก็คือ มันเกิดสถานการณ์คล้าย ๆ ทุกวันนี้ เกิดการปลุกระดม เป็นการปลุกระดมของฝ่ายขวาแล้วก็มีการกล่าวหากันในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ข้อหาไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ ข้อหาแบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แต่บรรยากาศอาจจะ-  ถ้าเกิดว่าได้คุยหรือได้ถามกับคนที่เคยผ่านเหตุการณ์ นักเขียนยุคก่อนนะ ในที่นี้เองพี่ประกายก็อาจจะได้บรรยากาศนั้นด้วย มันจะคล้าย ๆ ตอนนี้ การเมืองเต็มไปด้วยความวุ่นวาย แล้วก็เต็มไปด้วยการยกข้อกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากล่าวหากัน แล้วก็เกิดการสังหารหมู่ขึ้นที่ธรรมศาสตร์ นักศึกษาก็ถูกล้อมฆ่า ถูกทารุณ ถูกเผา ต่างๆนานา ดังที่ทุกคนที่ศึกษาเรื่องนี้ก็จะทราบกันดี

จากข้อกล่าวหานี้ ที่มันส่งผลสะเทือนกับวงวรรณกรรมในช่วงเวลาต่อมาก็คือ โวหารทางปัญญาที่ขับเคลื่อนวงวรรณกรรมอยู่ก่อนหน้านั้นมันเป็นอย่างนึง แต่ว่าหลัง 6 ตุลามันเกิดความเปลี่ยนแปลงเป็นปฏิกิริยาสืบเนื่องกับเหตุการณ์  สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนทางปัญญาในวงวรรณกรรม ก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา มันคือวรรณกรรมเพื่อชีวิต ในความหมายที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากนักเขียนในทศวรรษ 2490 อย่างเช่น จิตร ภูมิศักดิ์ อุดม ศรีสุวรรณ หรือฝ่ายซ้ายเดิมนั่นแหละ ตั้งแต่สมัยนั้น ก่อน 2500 อยู่ในเงื่อนไขทางการเมืองที่ฝ่ายกษัตริย์นิยมกับฝ่ายคณะราษฎร์ ยังสู้กันอยู่ ยังไม่มีใครแพ้ใครชนะ งานเขียนที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนในช่วงก่อนและหลัง 14 ตุลา ก็คืองานเขียนในช่วงเวลานั้น ก็รับสืบเนื่องกันมาเป็นวรรณกรรมเพื่อชีวิต เพราะคำว่าวรรณกรรมเพื่อชีวิตก็คือมาจากศิลปะเพื่อชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์นะ ก็เอา concept นั้นมาต่อ

หลัง 14 ตุลาซึ่งบรรยากาศเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย แต่เมื่อเกิด 6 ตุลาขึ้น Discourseในวงวรรณกรรมเปลี่ยน เกิดคำว่าวรรณกรรมสร้างสรรค์ขึ้นในปี 2520 นะ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาต่อเนื่องจากเหตุการณ์ 6 ตุลา คำว่าวรรณกรรมสร้างสรรค์ผมเคยอภิปรายไปบ้างแล้ว ในที่นี้ก็จะอาจจะไม่ลงรายละเอียดมากเพราะว่ามีเรื่องอื่นที่จะต้องพูด คำว่าวรรณกรรมสร้างสรรค์เกิดขึ้นมาเพื่อที่จะแทนที่ เพื่อที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนแทนคำว่าวรรณกรรมเพื่อชีวิต ณ เวลานั้น โดยเจตจำนง ถ้าย้อนกลับไปอ่านโลกหนังสือเล่มที่คุณสุชาติ ซึ่งเป็นคนสถาปนาคำนี้ ถ้าย้อนไปดูบรรยากาศ ดูบริบท ดูอะไรต่าง ๆ  เจตนารมณ์ค่อนข้างจะชัดว่าคำว่าวรรณกรรมสร้างสรรค์เกิดขึ้นมาเพื่อที่จะแทนที่ เข้ามาขับเคลื่อนความคิดแทนคำว่าเพื่อชีวิต

แล้วโวหารตัวนี้ เป็นปฏิกิริยาโดยตรงต่อเหตุการณ์ 6 ตุลา นักเขียนจำนวนมากหนีเข้าป่าไป แต่ว่าจำนวนมากก็ยังอยู่ในเมืองด้วยความหวาดกลัว สถานการณ์ต่าง ๆ ในเมืองมันจะแตกต่างกัน โวหาร ของพวกในป่าก็จะพัฒนาไปเป็นวรรณกรรมต่อสู้เพื่อการปฏิวัติ แต่ว่านัยสำคัญคือคำว่าวรรณกรรมสร้างสรรค์ในเมือง โลกหนังสือก็อยู่ในเมือง เป็นพวกฝ่ายซ้ายที่อยู่ในเมือง  แล้วก็ผลิตคำว่าวรรณกรรมสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนแทนคำว่าเพื่อชีวิต

ผมมองว่านัยของมันมีการประนีประนอมกับฝ่ายขวา ผ่าน concept หรือความคิดที่ขับเคลื่อนอยู่ในคำว่าวรรณกรรมสร้างสรรค์นี่แหละ

คำว่าวรรณกรรมสร้างสรรค์เกิดขึ้น แล้วก็ขับเคลื่อนวงวรรณกรรมมาตลอดเป็นเวลาสืบเนื่องกว่าสามสิบปี กระแสของคำว่าวรรณกรรมสร้างสรรค์นี้ ผมเคยอภิปรายไปแล้วนะ ก็จะพูดสั้น ๆ คือมันเป็นกระแสที่สามารถเทียบเคียงได้กับปรากฏการณ์โรแมนติกนิยมที่เกิดขึ้นในยุโรป หลังและระหว่างเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส มีความคล้ายคลึงกันมาก ประเด็นนี้  ในวารสารใต้ดินก็ลงรายละเอียดในเรื่องของยุโรปไปพอสมควร แต่ผมขอสั้น ๆ แค่ว่า มันคล้ายคลึงกับขบวนการโรแมนติกนิยมมาก

ขบวนการหรือสิ่งที่ขับเคลื่อนวรรณกรรมไทยผ่านคำว่าวรรณกรรมสร้างสรรค์มันมีหมุดหมายนิดหนึ่ง คือผมมองว่าจุดพีคของ concept แบบนี้ ของการประนีประนอมแบบนี้ ที่หมายถึงว่าการประนีประนอมระหว่างฝ่ายซ้ายจริง ๆ วรรณกรรมเพื่อชีวิตจริง ๆ ของแท้จริง ๆ กับฝ่ายขวา จุดพีคของการประนีประนอมมันเกิดขึ้นในปีที่กนกพงษ์ได้รางวัลซีไรต์ ก็คือเล่ม แผ่นดินอื่น

ผมมองว่าแผ่นดินอื่นเป็นจุดพีคของพลังของโวหารทางปัญญาที่เกิดหลัง 6 ตุลา หลังจากนั้นเกิดกระแสความสนใจ Post-modern คือวรรณกรรมตกไปอยู่ในข้อสนทนาเกี่ยวกับเรื่อง Post-modern ซึ่งผมมีข้อสังเกตสองอย่างนะ  ตั้งแต่หลัง 6 ตุลามาจนถึงแผ่นดินอื่น เนื้อหาหรือลักษณะของโวหารทางปัญญาเหล่านี้ โดย concept ของสังคมการเมือง มันคือการวิพากษ์นักการเมือง มันคือการวิพากษ์ทุนนิยม มันคือการวิพากษ์บริโภคนิยม มันคือการแสวงหาโลกอุดมคติในแบบชุมชน มันคือการถวิลหาอดีต มันคือการต่อต้านการพัฒนา แล้วมีนัยที่ต่อต้านความเป็นสมัยใหม่ สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบของ Discourse ของวรรณกรรมสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นหลัง 6 ตุลา จนกระทั่งมาพีคที่แผ่นดินอื่น

พูดง่าย ๆ ก็คือว่า นักการเมืองก็ดี ทุนนิยมก็ดี บริโภคนิยมก็ดี เป็นศัตรูอันดับหนึ่ง เป็นตัวชั่วร้ายอันดับหนึ่ง ในวิธีคิดของโวหารแบบนี้ พระเอกคือชุมชน คือการถวิลหาอดีต การพัฒนาเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความเสื่อม โลกสมัยใหม่คือการเดินทางไปสู่ความเสื่อม อันนี้ตรงกับโรแมนติกนิยมเลย นี่คือ concept ที่เกิดขึ้นหลัง 6 ตุลาและมาพีคที่แผ่นดินอื่น

จากนั้นก็เข้าไปสู่ความสนใจ Post-modern  ตอนนั้นวงวรรณกรรมค่อนข้างตื่นเต้นกับ Post-modern มาก แล้วก็เป็นช่วงที่เหมือนกับ หลังจากปราบดาได้ซีไรต์ แล้วก็เหมือนกับมีการแสวงหาหนทางใหม่ เพื่อจะหลุดพ้นออกไปจากเพื่อชีวิตจริง ๆ สักที ข้อสังเกตหนึ่งที่ผมขอจะตั้งไว้ก็คือ หลังจุดพีคคือแผ่นดินอื่นแล้วพอก้าวเข้าสู่ยุค Post-modern แล้ว concept หรือว่าพลังทางปัญญาโวหารในวงวรรณกรรมก็ยังไม่พ้นไปจากนักการเมือง ทุนนิยม บริโภคนิยม เป็นศัตรูอันดับหนึ่งนะ เหมือนเดิมเลย พลังทางปัญญาที่บอกว่าเป็นทางเลือกใหม่ที่เกิดขึ้นในยุค Post-modern ของวงวรรณกรรมไทยในมิติของสังคมการเมือง พอไปสำรวจเอาเข้าจริง ๆ  โดย concept ทางสังคมการเมือง โวหารเหล่านี้ก็ยังเห็นนักการเมือง ทุนนิยม บริโภคนิยม เป็นศัตรูอันดับหนึ่งเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ได้มีความแตกต่างจากก่อนหน้านั้น ทั้งที่ตอนนั้น Post-modern ถูกมองว่าเป็นทางเลือกใหม่ ถูกมองว่าเป็นการขยายกรอบคิดใหม่ เป็นอะไรมากมายที่มันเต็มไปด้วยคำว่าใหม่ใหม่ใหม่ แล้วก็พิเชฐ แสงทอง นักวิจารณ์อะไร อาจารย์ชูศักดิ์ก็ดี อาจารย์นพพร เหล่านี้แนะนำทฤษฎีใหม่ทั้งหมดเลยนะ เอาบาร์ต เอาฟูโก เอาอะไรมาแนะนำใช่มั้ย วิเคราะห์ตีความ  คือ apply ทฤษฎีกันค่อนข้างจัดมาก ไปดูบทความชูศักดิ์ ไปดูบทความนพพร ไปดูบทความทุกคนเลยในยุค Post-modern นะ ยุคก่อน Post-modern ด้วยก็ได้ ที่มันอยู่ในบรรยากาศนี้ ไม่มีใครที่จะพ้นไปจากนี้เลย อยู่ใน concept นักการเมือง ทุนนิยม บริโภคนิยม เป็นศัตรูอันดับหนึ่งหมดเลย

เพราะฉะนั้นพลังทางปัญญาที่เกิดขึ้นในยุค Post-modern จึงไม่จริงในแง่ของ concept ทางสังคมการเมือง เป็นโวหารทางปัญญาที่ไม่จริง ไม่ขับเคลื่อนไปสู่สิ่งใหม่จริง อันนี้คือข้อเสนอของผม ซึ่งมันมาเปลี่ยนหลังจาก 19 กันยา หลังจากเกิดวิกฤตการเมืองนะ วิกฤตการเมืองรอบนี้ สิ่งที่มันส่งผลสะเทือนอย่างรุนแรงอย่างยิ่งต่อวงวรรณกรรมก็คือ ไม่ใช่แค่วงวรรณกรรม อาจจะวงการปัญญาชนทั้งวงการเลยก็คือว่ามันทำให้โวหารทางปัญญานักเขียนวรรณกรรมสร้างสรรค์ ที่ก่อร่างสร้างตัวมาตั้งแต่ทศวรรษ 20 จนกระทั่งถึงวิกฤตการเมือง มันทำให้โวหารทางปัญญาของปัญญาชนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นนิธิ เสกสรร เกษียร อะไรทั้งหลายแหล่ ล่มสลายใช้การไม่ได้หมด ไม่สามารถใช้อธิบายเหตุการณ์วิฤตการเมืองที่เกิดขึ้นหลังจาก 19 กันยาได้ คือเรียกง่าย ๆ ว่าง่อยเปลี้ยเสียขาไปหมดเลย ไม่สามารถขับเคลื่อนความคิดต่อไปได้ มันตัน มันชน ไปต่อไม่ได้

ผมโฟกัสเฉพาะวงวรรณกรรมนะ จะพยายามไม่ไปพูดถึงวงการปัญญาชน สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากวิกฤตการเมืองก็คือ วรรณกรรมสร้างสรรค์พบกับความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการขับเคลื่อนพลังทางปัญญา โวหารทางปัญญาของนักเขียนใช้ไม่ได้ ล้มเหลว ย้อนกลับไปสู่ Discourse ยุคก่อน 6 ตุลา ย้อนกลับไปสู่โวหารทางการเมืองของก่อน 6 ตุลา, 14 ตุลา จนกระทั่งก่อน 2500 จนกระทั่ง 2475 ย้อนกลับไปหมดเลย

ซึ่งทีนี้มาถึง movement  ถ้าดูจากวิกฤตการเมือง หลัง 19 กันยา 49 ผมคิดว่าการปรับตัวของนักเขียนค่อนข้างช้านะ ปรากฏครั้งแรกเท่าที่เห็น ที่เรียกได้ว่าเป็น movement  คือถ้าจำได้ก่อนรัฐประหารคุณสุชาติก็ยังล่ารายชื่อไล่ทักษิณนะ ซึ่งผมก็ถูกเอาชื่อไปอยู่ในนั้นด้วยโดยไม่ได้รับการบอกกล่าว หลัง 19 กันยาก็ไม่ได้แตกต่างมาก จนกระทั่งปี 50 รัฐบาลสุรยุทธ ปี 51 ไม่ได้แตกต่างมาก จนกระทั่งปี 52 มันมี movement หนึ่งเกิดขึ้นก็คือ มีแถลงการณ์ของนักเขียนออกมาสนับสนุนคนเสื้อแดง ก็มีสักสิบกว่าคนมั้ง แต่ที่ผมจำได้คือน่าจะมีคุณเพียงคำ มีวัฒน์ วรรลยางกูล มีคำสิงห์ ศรีนอก จำได้ว่ามีคุณกิตติพลด้วยนะ อันนี้คือ เมษา 52

หลังจากนั้นเกิด movement ครั้งที่ 2  มีแถลงการณ์ของห้าสิบนักเขียน คือแถลงการณ์คนต้องเท่ากัน อันนี้ผมเป็นคนริเริ่ม ตอนนี้จะมีเยอะขึ้น เมษา 52 นี่มีสิบกว่าคนอันนี้เป็น movement ครั้งที่ 2 นะ แถลงการณ์นี้มีพี่ประกาย มีเดือนวาด มีใครอีกหลายคน ในปี 53 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ น่าจะมีนาคม คือก่อนที่จะมีการชุมนุม แล้วก็มีเหตุการณ์ที่ราชประสงค์ ถ้าให้ประเมินความเคลื่อนไหวของนักเขียน ในช่วงวิกฤตการณ์เมือง ผมเห็นเส้นแบ่งชัด ๆ อยู่สองช่วง ก็คือ มีนา 53 กับ มีนา 54 ซึ่งมี movement สำคัญสอง movement   ของปี 53 ก็คือแถลงการณ์คนต้องเท่ากัน นั่นถือว่าเป็นครั้งแรกที่- คือไม่ใช่ครั้งแรกหรอก ครั้งแรกคือปี 52 แต่ว่าถือว่ามีความชัดเจนนะ ที่ออกมาเคลื่อนไหวเสนับสนุนคนเสื้อแดง ในปี 53 ซึ่งเป็นกอบเป็นกำพอสมควร คือมีเยอะพอสมควร เส้นแบ่งที่สองเนี่ย คือ movement เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ปี 54 ก็คือเรื่อง แก้ 112 จดหมายเปิดผนึกของนักเขียน ซึ่งมีถึง 365 คน กับ 50 คนนะ ผมมองในแง่ของความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มันเป็น movement ซึ่งขออนุญาตไม่นับทางฝั่งพันธมิตร

จากปี 53 มี 50 คน มากรณี 112 เนี่ย 365 คน ในต้นปีที่แล้ว อันนี้ปักเป็นหมุดให้เห็นเฉย ๆ นะ ซึ่งเส้นแบ่งนี้ผมมองว่ามีนัยสำคัญ  ผมเข้าใจว่าจุดยืนของ 50 คนในปี 53 พอมาอยู่ในปี 54 ต้นปีนี้ก็กลายเป็นพวกฮาร์ดคอร์ไปแล้วนะ

ทีนี้ประเด็นที่จะพูดต่อซึ่งผมจะโยงไปเรื่องใหม่ ประเด็นที่เห็นว่ามันมี impact สูงมากเลยคือ movement ของนักเขียนในเรื่อง 112 ที่แสดงให้เห็นของการปรับตัวของพลังทางปัญญาเพื่อที่จะผลิตโวหารทางปัญญาใหม่ ๆ เพื่อรับมือกับวิกฤติทางการเมืองที่เป็นอยู่

movement พวกนี้มันคือตัวสะท้อน เพราะถ้าเราไปพูดชิ้นงานเนี่ย อาจจะอ่านไม่ทั่วถึงแล้วก็หยิบมาพูดยาก แต่ว่าให้เห็น movement ว่านี่คือการปรับตัว การพยายามเคลื่อนไหวทางความคิดที่เป็นปฏิกิริยาต่อวิกฤตการเมืองที่เป็นอยู่ จะเห็นได้ว่าประเด็น 112  เรียกว่าเป็นประเด็นแกนกลางได้ ในกรณีของนักเขียน

ขออภิปรายเรื่อง 112 หน่อย เรื่องแก้เรื่องเลิกด้วย อันนี้หลังผมพูดก็ขอเชิญที่ไมค์เลยนะ ใครต้องการแสดงความเห็น คือ 112 นี่มันเป็นปลายของภูเขาน้ำแข็ง ผมคิดว่าหลาย ๆ คนในที่นี้ก็เข้าใจดีอยู่นะ เป็นที่รู้กัน น่าจะทราบกันอยู่ สิ่งที่เรียกว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กฎหมายหมิ่นพรบรมเดชานุภาพ จริงๆคำว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่มีอยู่ในกฎหมายไทยนะ กฎหมายไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วไม่มีคำนี้ สมัยก่อนมีคล้ายๆกัน มีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีหมิ่นตราราชสีห์ สมัยก่อนคือสมัยสมบูรณ์ฯ นะ ระบอบกษัตริย์ แต่หลังเปลี่ยนแปลงแล้วในระบบกฎหมายไม่มีคำนี้ แต่ทำไมคำนี้มันยังฟังค์ชั่นอยู่ ทำไมคำว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเนี่ยมันยังมีชีวิตอยู่ในระบบภาษา คือเราคุยกับนักเขียน ในมุมของนักเขียน ผมถามในเชิงโวหาร ในเชิงวาทกรรม ทำไมคำว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมันยังทำงานอยู่ ทั้งที่เปลี่ยนการปกครองแล้วนะ ไม่ได้เป็นการปกครองในระบอบกษัตริย์อีกต่อไป ไม่ได้เป็นการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์เป็นองค์อธิปัตย์ล่วงละเมิดไม่ได้

ทำไมถึงยังมีข้อกล่าวหาหมิ่นอำนาจของกษัตริย์อยู่ ทั้งที่ในระบอบประชาธิปไตยกษัตริย์ไม่มีอำนาจแล้ว  มันเป็นปลายยอดของภูเขาน้ำแข็ง จะเห็นว่าการทำงานในเชิงวาทกรรม จาก Discourse ไม่ใช่เป็นแค่โวหารแล้วนะ คำว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี่เป็นวาทกรรมด้วยในความหมายของ Post-modern  คือมีการขับเคลื่อนทางความคิด มีอำนาจอยู่ ทำงานเพื่อยืนยันอุดมการณ์กษัตริย์นิยมของระบอบเก่าอยู่ การที่คำนี้ยังมีชีวิตอยู่ในระบบภาษา มีการกล่าวหาอยู่ แล้วมีการเข้าใจกันในทางวัฒนธรรมในลักษณะแบบเดิมอยู่ มันสะท้อนว่ายังมีการขับเคลื่อนอุดมการณ์แบบระบอบเก่าอยู่ ผ่านระบบกฎหมาย ทั้งที่กฎหมาย 112 ชื่อเต็มมันก็คือ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 

การที่ตัวบทมันเป็นอย่างนี้อยู่ สั้นๆ เป็นอย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ แล้วก็อยู่ในหมวดความมั่นคง คือมันส่งกันกับการทำงานของ Discourse ที่เรียกว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี่แหละ ทำให้คำนี้ยังคงทำงานอยู่ในสังคม ในระบบกฎหมาย ในการตีความของศาล ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนอุดมการณ์กษัตริย์นิยมในแบบของระบอบเก่า อันนี้คือปัญหาของตัว 112 เฉพาะตัว 112 เอง ยังไม่รวมฐานของมัน

ฐานของมันซึ่งแน่นอนว่าโยงไปสู่เรื่องสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ในระบอบที่เป็นอยู่ ปัญหาหนึ่งที่ทำงานควบคู่ที่ คอยขับเคลื่อนอุดมการณ์ในระบอบเก่า ก็คือ ปัญหาของสิ่งที่เรียกว่าประเพณีการปกครอง คือการที่มันบังคับใช้งานกฎหมายขัดแย้งกับอุดมการณ์ในตัวกฎหมาย

ตัวกฎหมาย โดยอุดมการณ์มันยังเป็นระบอบประชาธิปไตยนะ แต่การใช้ การตีความ แล้วก็ประเพณีของการตีความนะ ประเพณีของการ apply กฎหมายก็ดี การปกครองก็ดีเนี่ย มันไม่ได้เป็นไปตามอุดมการณ์ ณ ขณะนี้ที่เป็นอยู่ มันไม่ได้เป็นไปตามอุดมการณ์ของระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์ มันเป็นอยู่ประหนึ่งว่าเป็นระบอบกษัตริย์ที่มีรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์

ยกตัวอย่างเรื่องที่ผมเพิ่งเขียนบทความไปไม่นานนี้ แล้วที่อาจารย์ ปิยบุตรโดนโจมตีมากเลยเนี่ย ก็คือเรื่องพระราชดำรัสนะ กษัตริย์ไม่มีสิทธิที่จะมีพระราชดำรัสในที่สาธารณะนะ อันนี้เป็นสิ่งที่ผู้ที่เขียนกฎหมาย ผู้ที่วางรากฐานกฎหมายก็คืออาจารย์หยุด แสงอุทัย ก็เคยยืนยันไว้แล้ว ในหลวงเองก็เคยมีพระราชดำรัสในเรื่องนี้ไว้ ซึ่งผมก็เอามาแสดงในบทความของผมไม่นานนี้ โต้ฝ่ายพวกที่เค้าโจมตี คือในหลวงเองก็เคยตรัสไว้นะว่า การมีพระราชดำรัสในที่สาธารณะต้องมีรัฐมนตรีสนอง เพราะกษัตริย์ไม่มีอำนาจทางการเมืองอยู่จริง เป็นแค่สัญลักษณ์ เพราะฉะนั้นการกระทำการต่างๆ การพูดในที่สาธารณะคือการกระทำการทางการเมืองนะ การแสดง speech  การหาเสียงอะไรพวกนี้ก็คือ speech หมด เพราะฉะนั้นการพูดในที่สาธารณะเป็นการกระทำทางการเมือง จะต้องมีผู้รับสนอง เพราะว่าพระมหากษัตริย์ไม่มี accountability ไงครับ รับผิดชอบเองไม่ได้ พูดอะไรออกไป เพราะฉะนั้นจะต้องมีผู้รับสนอง เพื่อที่จะรับผิดชอบแทน นี่คือตัวอย่างประเพณีที่ขัดแย้งกับระบอบ

ตีความมาตรา 8 ไม่เป็นไปตามอุดมการณ์ประชาธิปไตย ซึ่งยังมีอื่นๆอีกมากมาย ที่เป็นฐานของภูเขาน้ำแข็ง ที่มันเป็นเรื่อเกี่ยวกับบทบาทและสถานะของสถาบันกษัตริย์ ที่มันดำรงอยู่แล้วถูกใช้เป็นประเพณี เป็นจารีตทางการเมือง โดยที่ขัดแย้งกับหลักของประชาธิปไตย ปัญหานี้เกิดขึ้นภายใต้การบังคับใช้มาตรา 112 ประหนึ่งว่าเรายังอยู่ในระบอบเก่า บังคับใช้ในฐานะของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ใช่กฎหมายหมิ่นกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย กฎหมายหมิ่นกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยมีความแตกต่างจากกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือหมิ่นตราราชสีห์ ไปหมิ่นอำนาจของกษัตริย์ นี่คือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามถ้อยคำ นี่คือการทำงานของ Discourse ตัวนี้ ยังทำงานอยู่ ภายใต้สถานการณ์ที่ผมอธิบายไป คือฐานของภูเขาน้ำแข็งเป็นอย่างนี้ ปัญหาทางการเมืองเป็นอย่างนี้อยู่ แล้วการบังคับใช้กฎหมายนี้เป็นอย่างนี้อยู่ นี่คือข้อจำกัดของโวหารทางปัญญาของนักเขียนที่จะเคลื่อนไหวทางความคิดในเชิงสังคมการเมือง

เป็นความท้าทายของคนที่ผลิตงานสร้างสรรค์ คนที่ทำงานวรรณกรรม ผมเอาเฉพาะแวดวงนักเขียนก็ได้ ไม่พูดไปถึงปัญญาชน นี่แหละคือปัญหา แล้วคุณจะฝ่าปัญหาไปยังไงภายใต้การบังคับอย่างนี้ มันต้องการทักษะ มันต้องการความเข้าใจ มันต้องการทักษะในการใช้ภาษาอย่างสูง แล้วมันต้องการความรู้ความเข้าใจในทางกฎหมายด้วย คุณจะอภิปรายปัญหาประเพณีที่มันขัดกับระบอบประชาธิปไตยยังไง คุณจะอภิปรายปัญหาทางการเมืองที่มันมีความแหลมคมอย่างที่คุณกิตติพลพูดไปบ้างแล้วนะ ที่มันมีความล่อแหลมยังไง ถึงจะสื่อสารกับสาธารณะได้ นี่คือปัญหาของนักเขียนที่อยู่ในห้องนี้ นักเขียนปัจจุบันนี้ นักเขียนในวงวรรณกรรมสร้างสรรค์ คุณจะขับเคลื่อนความคิดของคุณอย่างไรในการฝ่ากรอบจำกัดเหล่านี้

นี่คือประเด็นที่เป็นภารกิจเลย สำหรับคนที่ยังคิดว่าคือตัวเองต้องการขับเคลื่อนทางปัญญา เพราะว่านี่คือประเด็นใหญ่สุดที่มันจำกัดการขับเคลื่อนทางปัญญาของเราอยู่

นักเขียนที่เป็นนักเขียนสร้างสรรค์ นักเขียนเพื่อชีวิต ที่สืบขนบต่อกันมา ประเด็นสำคัญคุณต้องการขับเคลื่อนในเรื่องทางปัญญา ในเชิงสังคมการเมืองก็ดี ในเชิงวัฒนธรรมก็ดี เรื่องนี้นี่แหละคือมันครอบคุณอยู่ มันจำกัดคุณอยู่ เพราะฉะนั้นคุณจะขับเคลื่อนความคิดคุณ คุณจะฝ่ามันไปยังไง อันนี้คือโจทย์แรกที่คุณต้องมองเห็นเลยนะ แล้วคุณต้องแก้ให้ได้

ขอฝากไว้ให้คิดว่า เราจะเถียงกันเรื่องแก้เรื่องเลิกอะไรเนี่ย ยังเถียงได้อีกยาว แต่ว่านี่คือปัญหาจริงๆ  คือตอนนี้มันมีอยู่ไม่กี่คนที่พยายามฝ่าไอ้ตรงนี้ไป การพูดเรื่องนี้มันขาดแคลนมาก ๆ แล้วเราต้องฝึกฝน คือเข้าใจว่าโวหารทางปัญญา กว่ามันจะเกิดขึ้น กว่าที่คุณจะเขียนเรื่องสั้นชิ้นหนึ่ง  กว่าที่คุณจะเขียนบทความชิ้นหนึ่ง คุณต้องสั่งสมความเข้าใจ สั่งสมภาษา สั่งสมความรู้ concept ต่าง ๆ อารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ประมวลมันออกมา ถักทอมันขึ้นมาเป็นโวหาร เพื่อที่จะเคลื่อนไหวความคิด อันนี้มันต้องการเวลา เพราะฉะนั้นนี่คือความท้าทายที่เป็นอยู่ หมายความว่าการปรับตัวของวงวรรณกรรมโดยภาพรวมทั้งหมดเลย คือคุณจะมีความสามารถในการปรับตัวเพื่อรับมือกับวิกฤตได้แค่ไหน มันชี้วัดตรงนี้เลยว่า คุณสามารถผลิตโวหารทางปัญญานี้เพื่อต่อสู้กับไอ้ข้อจำกัดตรงนี้ได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าคุณจะเป็นสีอะไรก็แล้วแต่ ถ้าคุณฝ่าบล๊อคนี้ไปไม่ได้คุณไม่มีทางคลี่คลายทางปัญญาได้เด็ดขาด ไม่มีทาง ผมไม่เชื่อว่าคุณจะเป็น Post-modern ได้ ถ้าคุณไม่ฝ่าบล๊อคนี้ เป็นไปไม่ได้เลย ความคิดคุณก็ติดอยู่ที่ตรงนี้

คุณอย่าไปหวังเลยว่าคุณจะไปอะไรที่มันไกลกว่า modern อะไรที่มันไกลกว่านั้นทางทฤษฎี มันไม่ได้หรอกครับ คุณมีชีวิตอยู่ในบริบทแบบนี้ แล้วมันบีบคุณอย่างนี้ ถ้าคุณไม่สามารถผลิตงานเขียน โดยที่มันบีบคุณแล้วมันคุณฝ่ามันไปไม่ได้เนี่ย คือคุณจะไปสร้างมาร์สเตอร์พีชในความคิดแล้วคุณมองเห็นมาเกซ คุณมองเห็นกามู คุณมองเห็นอะไร ซัลมาน รัชดี คือไร้สาระนะ เพราะว่าบริบทที่มันบีบคุณอยู่นี่ ที่คุณรู้สึกอยู่ด้วยตัวคุณเองเนี่ย อยู่ในสังคมนี้ เป็นอย่างนี้อยู่ แล้วคุณยังฝันว่าคุณจะสร้างมาร์สเตอร์พีชได้โดยที่คุณไม่สามารถฝ่าไอ้นี่ได้นะ ฝันกลางวันครับ ไม่มีทางทำได้

ถาม
ขอถามพี่เป้สองจุดละกันครับ จุดแรกก็คือเห็นด้วยในหลักการเลยว่าโอเค หลังจากปี 20  มันก็มีความเปลี่ยนแปลงจริง คือคำถามแรก อยากจะถามว่า อยากจะให้ลอง อาจจะยังไม่ต้องตอบตอนนี้ก็ได้ แต่สงสัยว่าในแง่ของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ตอนนั้นก็มีรัฐประหารเหมือนกัน มันเป็นไปได้มั้ยว่า จริงๆแล้วเหตุการณ์พฤษภาทมิฬแล้วรัฐประหารตอนนั้นเนี่ย มันน่าจะส่งอิทธิพลบางอย่างต่อวรรณกรรมสร้างสรรค์หรือเปล่า แล้วก็ส่งในแง่ไหน อาจจะเป็นไม่ต้องตอบตอนนี้ก็ได้ แต่เป็นอย่างนึงที่อยากตั้งข้อสังเกตละกัน คือเชื่อว่ามันก็น่าจะมีบางรูปแบบอยู่ กับอีกอย่างนึงซึ่งก็เป็นจุดที่เห็นด้วย ในแง่ว่าพอหลังจากรัฐประหาร 19 กันยา มันก็มีเรื่องของความล้มเหลวในเชิงภูมิปัญญาไทย หรือภูมิปัญญาทางวรรณกรรมที่สะสมมาอยู่จริงๆ เพียงแต่ว่าอาจจะเห็นต่าง แล้วก็อาจจะตั้งข้อสังเกตอย่างหนึ่ง คือผมไม่ถึงกับคิดว่ามันเป็นการปรับตัว ไม่ถึงกับคิดว่าพอเลยมาปี 52, 53 หรือว่า 54 หรือว่าการลงชื่อสามร้อยชื่อในคราวที่แล้วเนี่ย มันเป็นการปรับตัวขนาดนั้น คือผมมองว่าก็ยังมีนักเขียนหลายคนที่ก็ยัง เหมือนกับว่าพยายามเล่นกับภูมิปัญญาในจุดเดิม เพียงแต่ว่าเขาอาจจะดัดแปลงไปจากวิธีเดิม เค้าอาจจะไม่ใช่แบบว่าทื่อๆมาแบบก่อน 19 กันยา ผมว่าก็ยังมีคนที่ยังเชื่อในแนวคิดของวรรณกรรมสร้างสรรค์อย่างที่พี่เป้บอกอยู่ แล้วเค้าก็พยายามเล่นกับจุดนั้นเหมือนกัน ซึ่งในส่วนตัวของผมมองว่ามันเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เพราะเหมือนกับว่าเมื่อฐานของคุณมันใช้ไม่ได้ แล้วเมื่อสังคมมันตีหนีออกจากฐานความคิดคุณเรื่อยๆ มันเลยผลิตงานที่มันแปลกแยกจากตัวสังคมออกมามากๆ จนมันน่าสนใจในตัวของมันเองครับ ก็คืออันนี้อาจจะไม่ใช่เป็นคำถาม แต่อาจจะเป็นตั้งข้อสังเกตแล้วกัน ผมมองว่ามันอาจจะไม่เชิงว่า ทุกคนกลับมาเป็นเสื้อแดงหมดเลยมันก็ไม่ใช่อย่างงั้น คือมันก็มีคนที่มั่นคงกับจุดยืนเสื้อเหลืองของตัวเอง แล้วก็มีคนที่พยายามปรับอะไรบางอย่าง แบบไม่ยอมจะเป็นเสื้อแดง แล้วก็ยังอยากจะยึดถือแนวคิดแบบวรรณกรรมสร้างสรรค์ของตัวเองอยู่ แต่ก็ดัดแปลงอะไรบางอย่างไปที่ผมก็ว่ามันน่าสนใจอยู่

ตอบ
คือพฤษภามันเป็นอะไรที่ - จะเรียกว่าอะไรดี การส่งอิทธิพล คือในแง่พฤษภามันไม่ขับ มันเป็นการผลิตซ้ำ 14 ตุลานะ ในเชิงประวัติศาสตร์เป็นการผลิตซ้ำ 14 ตุลา ทีนี้ในเชิงวรรณกรรม มันเป็นการผลิตซ้ำ 14 ตุลาเช่นเดียวกัน ผลิตซ้ำความโรแมนติคนั่นแหละ ผลิตซ้ำตำนาน ผมมองอิทธิพลที่มันเคลื่อนวงวรรณกรรมมันเป็นลักษณะนั้นนะ เพราะว่าหลังพฤษภาทมิฬ อย่างที่ผมบอกก็คือจุดพีคก็คือ แผ่นดินอื่น แผ่นดินอื่นจะมีฉาก ที่เป็นเหตุการณ์พฤษภาอยู่ คือพูดง่าย ๆ ก็คือว่าตัวฉากในแผ่นดินอื่น ตัวเนื้อหา ตัวละครเป็นเหตุการณ์พฤษภา แต่ว่าตัวความคิดที่มันเคลื่อน มันคือความคิดเดียวกับที่มันเกิดขึ้นในทศวรรษ 20 แล้วมันพีคตรงนั้น ทีนี้ เวลาผมพูดอย่างนี้ ที่ผมบอกว่าหมุดหมายตรงนี้มาเป็นตัวชี้ ที่บอกว่าเอาการลงชื่อของนักเขียน ปี 53 กับ ปี 54  ปี 53 คืองี้ ผมไม่ได้คิดบนฐานของสีเหลืองสีแดงนะ คือมองมันในแง่ของ movement ทางความคิด ไม่ได้ตั้งฐานว่าสีแดงก้าวหน้าสีเหลืองล้าหลัง แต่ว่านี่คือหมุดหมายที่มันเป็น move ทางความคิด  หมายถึงว่ามันมีการเคลื่อน คือต้องมองให้พ้นไปจากสีก่อน ไม่ได้หมายความว่าสีแดงแล้วจะก้าวหน้า คือคิดแบบนี้มันเชยชิบเป๋ง วันก่อนเนี่ยผมก็ยังเห็นสุภาพ พิมพ์ชนเขาโพสต์สเตตัสอะไรบางอย่างที่มันอยู่ไอ้ระหว่างนี้ สีเหลืองสีแดง คือต้องพ้นไปจากนี้นะ คือคุณต้องมองว่าอะไรที่มันเป็นกรอบทางความคิด แล้วถ้าเกิดคุณเป็นคนที่ชอบคิด คุณต้องเข้าใจว่าอันนี้แหละมันเป็นการเคลื่อนทางความคิด คุณจะแยกออกว่าอันไหนคือเคลื่อน อันไหนอยู่กับที่ ที่ผมพูดและภูยกตัวอย่าง ผมจะไม่พูดถึงคนเหล่านั้น ที่เค้ายังอยู่ในกรอบวรรณกรรมสร้างสรรค์เดิม ๆ นั่น เพราะมันไม่เคลื่อนแล้วไง ก็เลยไม่พูดถึง คือไม่รู้จะพูดอะไรไง ที่ยกตัวอย่างที่มันมีการเคลื่อน เคลื่อนเพราะว่ามันมีอะไรปะทะกันอยู่ มันถึงเคลื่อน คือถ้าเราโฟกัสไปที่ไอ้ตัวความคิด แล้วตัวการปรับตัว ผมก็อยากจะดูว่าการปรับตัวของ Discourse ถ้าเวลาคุณเป็นนักวิจารณ์ คุณดูมันระหว่างบรรทัดได้เลยนะ มันจะมีการปรับโวหาร มันจะมีการปรับความหมาย มันจะมีการปรับสัญญะ ในระหว่างบรรทัด ในบทกวีก็ตาม ในเรื่องสั้นก็ตาม มันจะมี แล้วถ้าคุณเป็นนักวิจารณ์คุณจะบอกได้เลยว่าอันนี้มันเคลื่อน ความคิดมัน move อันนี้มันวนอยู่ที่เดิม เพราะฉะนั้นผมจะพูดในกรณีที่ว่า ในสังคมหนึ่งๆ โดยเฉพาะสังคมที่กำลังมีวิกฤตความขัดแย้งที่แหลมคมอยู่ ประเด็นที่มันจะทำให้ความคิดมันเคลื่อน มันมีอยู่ไม่กี่จุดหรอก เพราะว่าสังคมมันกำลัง conflict อย่างสูง มันกำลัง contrast  เพราะฉะนั้นประเด็นที่แหลมคมที่สุดนั่นแหละ ถ้าคุณฝ่าไปได้ ความคิดมันจะ move จากตรงจุดนั้น

คนนอกของอัลแบ กามู ที่มันดังมาก ๆ  เพราะว่ามันกำลังฝ่าความคิดที่มันกำลัง contrast กันมากๆ ระหว่างฝรั่งเศสกับแอลจีเรียตรงนั้น ตอนนั้นที่มันมีสองฝั่งที่มันเถียงกัน แล้วมันจะฆ่ากันเนี่ย เพราะว่าฝั่งหนึ่งจะปลดปล่อยแอลจีเรีย อีกฝั่งนึงมันจะยึดเอาไว้ แล้วกามูมันพยายามฝ่าตรงนี้ แล้วมันฝ่าไปได้ มันยิ่งใหญ่ตรงนี้ไง วรรณกรรมของโลกที่มันยิ่งใหญ่ มันเกิดขึ้นอย่างนี้ เพราะมันฝ่าบริบททางสังคม พลังทางปัญญาที่มันบรรจุอยู่ในโวหาร บรรจุอยู่ในตัววรรณกรรม มันไปฝ่าบริบทตรงนั้นออกไปได้ มันทะลุทะลวง แล้วความคิดมันเคลื่อนออกไป มาสเตอร์พีชมันเกิดขึ้นอย่างนี้ มันไม่ใช่เกิดขึ้นจากที่คุณนิมิตเอา คือเหมือนกับว่านั่งนอนเปล แล้วก็มันหล่นมาใส่คุณจากฟ้า แล้วคุณก็สามารถเนรมิตรมาสเตอร์พีชทางวรรณกรรมได้ อันนี้คือฝันกลางวัน มันไม่จริง

ถาม
ขอแสดงความคิดเห็นละกัน คือก็เป็นนักกิจกรรมนะ จริง ๆ ก็เจอคุณเป้ วาด รวี อยู่ ในงานเวทีนะครับ  เรื่องของวรรณกรรม บทบาทวรรณกรรม ของหลังรัฐประหารเนี่ย ก็ได้ฉายให้พวกเราเห็นนะว่าอะไรคือที่มาที่ไป แล้วก็มาในปี 53 ว่าทำไมถึงโผล่ในปี 53 เป็นเอาเรื่องเอาราวจริงจังซักหน่อย คือจริงๆแล้วมันก็มีประเด็นที่น่าสนใจของหมู่นักเขียนด้วยกัน เป็นคนที่ก็สนใจอ่านอยู่บ้าง เรื่องของงานเขียน วรรณกรรมต่างๆ แต่ทีนี้เนี้ยมันมีอยู่จุดที่บอกว่าก่อนปี 2519  มันมีการวิจารณ์ระบอบเผด็จการทหารสูงมาก ยุค 16  หรือก่อน 16  14 ตุลา คือแล้วก็มาวิจารณ์ในเรื่องการเสนอ ในแง่มุมของศิลปะเพื่อชีวิต ในหมู่นักกิจกรรมของเราก็จะมองว่าเป็นการสนใจในหมู่กรรมกร คืองานในเมืองผลิตออกมาสูงมาก ภายหลัง 2519 เริ่มจะขยับขยายไปสู่การเขียนงานที่แบบสร้างสรรค์ สร้างสรรค์หรือเปล่าไม่ทราบ แต่ว่าเป็นเรื่องของการคุยกันเรื่องของชนบท แล้วพอมาหลังจากปี 2535  คือการวิพากษ์ทหารก็ยังเข้มข้นอยู่นะ แต่คือ แต่ไม่เข้าใจว่าพอหลังจากนั้นมีการหยิบเอาแนวความคิดที่บอกว่าโรแมนติคนิยม แล้วก็ไปพูดเรื่องของคนชายขอบ ประเด็นนี้สูงมาก สูงมากจน 40 เลย   40 เนี่ยวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมาปุ๊ป แห่กันไปด่าทุนนิยม ถูกมั้ยครับ ทุกอย่างเลยไม่ว่าปัญญาชนก็ดี แล้วก็มาถึงนักเขียน นักคิดต่างๆ แห่กันมาโจมตี แล้วก็พยายามเสนอทางออกว่าอะไรมันดีกว่าทุนนิยมวะ อะไรอย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นสันติอโศก บุญนิยมอย่างนี้เป็นต้นนะ หรือแม้กระทั่งมาร์กซิสต์เอง ตัวผู้สนใจงานพวกมาร์กซิสต์ กลุ่มอาจารย์ใจก็จะมาในปี 40 - 42 เพราะผมอยู่ทำงานอยู่ตอนนั้นนะในปี 42  ก็จะเสนอแง่มุมเรื่องกลับไปสู่สังคมนิยมก็มี แต่ว่างาน Post-modern จริงๆเนี่ย หลังทันสมัยเนี่ย ผมว่ามันเป็นเหมือน คือมันกลายเป็นเรื่อง มันพัฒนาจากคนชายขอบนั่นแหละ ผมมองงี้นะว่ามันเป็นการพัฒนาที่จะเอาอะไร คือ Post-modern ในที่สุดแล้วมันติดกรอบอยู่การถกเถียง หาอะไรที่มันใหม่กว่าอย่างที่คุณเป้ วาด รวี บอกเลยว่า ไอ้ความทันสมัยมันยังไม่ถึงเลย มีอะไรบ้าง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นี่สามอย่างนี้มีความทันสมัยแล้วหรือยัง คือเราไม่แตะ แต่จริงๆแล้วก็โทษนักคิดนักเขียนไม่ได้เหมือนกันนะ ผู้ที่ศึกษาทางทฤษฎีโดยตรงเนี่ย ทางการเมืองโดยตรงก็ คือหลังจากยุคจิตรมาแม้แต่สายของอาจารย์ใจก็ดี เราวิพากษ์ ทุนนิยมมากกว่า คือแต่เราศึกษา 6 ตุลา 2519 จนเราเข้าใจอะไรดี แต่เราก็ยังหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะคุยเรื่องทุนนิยม โดยที่เราไม่มองว่าจริงๆแล้วมันมีตัวแปรสำคัญว่า อย่างที่ได้บอก คำประกาศของคณะราษฎร์ ซึ่งมันมีการคาบเกี่ยวระหว่างเศรษฐกิจกับสังคม หรือเศรษฐกิจกับอำนาจ การสะสมของทุนเป็นนายทุนใหม่อะไรประมาณนี้ ใหม่กว่าทักษิณ เก่ากว่าทักษิณ แต่อาจจะใหม่กว่า ในอีกความหมายนึงก็ได้ คือดังนั้นมาในยุคนี้ ในยุคนี้ที่อยากจะ คือผมไม่รู้ อันนี้เป็นข้อสังเกตผมว่า จริงๆแล้วเนี่ยนักคิดนักเขียนออกมาในช่วงระยะเวลา มาเรื่องของ 112 เป็นเพราะว่าปรากฏการณ์ ตอบผมก็ได้หรือไม่ตอบก็ได้นะ คือว่ามาจากคำที่คนเสื้อแดงพูดกันรึเปล่าว่าเราก้าวข้ามทักษิณ  เราคือคนเสื้อแดงบอกว่าเราไม่เอา เราก้าวข้ามทักษิณแล้ว คืออันนี้เป็นจุดหนึ่งเลยนะแต่ว่าผมดีใจนะ ดีใจที่มีหลายคนที่เข้าร่วม แล้วผมก็ได้เข้ามาร่วมกับทางกวีราษฏร์ ผมก็รู้สึกปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่งเลย เพราะมีเพื่อนอย่างเพียงคำ คือเราก็ต่อสู้ร่วมกัน คืออยู่ในกลุ่มร่วมกันกันมาประมาณสองสามปีละ แล้วก็มาทำกิจกรรมร่วมกันมาโดยตลอด ดังนั้น แล้วพอมาเห็นภาพที่มันเป็น impact แบบนี้ก็เลยรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับปรากฏการณ์ที่มันเกิดขึ้น

ทีนี้เนี่ยเรื่องก้าวให้ข้ามพ้นของทักษิณ จริงๆแล้วมันคือหลักการเลยนะ คืออย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าคุณทำงานขีดเขียนต่างๆ คุณเป็นนักคิดใหญ่โตขนาดไหน ถ้าคุณไม่สัมผัสในการออกมาต่อสู้จริงแบบมวลชนในท้องถนน ตั้งแต่ปี 2549  คุณก็อยู่ในโลกของ Post-modern อย่างที่คุณบอก สร้างวิมานในอากาศ แค่นั้นเอง ถ้าคุณไม่สัมผัสมวลชนจริงๆ คุณไม่มาคลุกคลีจริงๆ เรียนรู้ไม่ใช่ศึกษานะ ศึกษาคืออ่านหนังสือ เรียนรู้กับเขาทุกจังหวะช่วงชีวิต แล้วใช้ความกล้าหาญหน่อย เหมือนมวลชนที่เขากล้า ที่เขาไม่รู้ว่าเขาจะมีชีวิตอยู่รึเปล่าเหมือนกัน คือถ้ามีความกล้าหาญกว่ามวลชน ผมว่าปัญญามันเกิด อาจจะฟังแล้วแรงหน่อย แต่ว่ามันถึงจังหวะที่พวกเราจะควรจะขยับไปสู่การสร้างโวหารทางปัญญาให้ได้ ก็ต่อเมื่อมีปัญญาก่อนที่จะมีโวหารครับ ตรงนี้ซึ่งอยากให้มันเกิดขึ้นจริงๆ แล้วผมก็คิดว่าโอกาสการเติบโตไปข้างหน้า มันเห็นจังหวะก้าวต่อไปเรื่อยๆ เห็นการพัฒนาการอยู่สม่ำเสมอ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นจุดที่ดีนะฮะ แต่ก็คิดว่าอย่างไรก็แล้วแต่ ก็มันน่าจะเป็นพลังมากกว่าเป็นการบั่นทอน หมายความว่าการเสนอปุ้งปั้งขึ้นมาในวัฒนธรรมของปัญญาชนที่เราเห็นกัน แล้วฝ่ายกวี นักคิด นักเขียน เฮ้ยเอาไงกับคำว่ายกเลิกหรือแก้ไข ผมคิดว่าไม่ต้องปุ้งปั้งขนาด เหมือนสมัยนู้น สมัยที่จะต้องเอาหมวกไปสวมเขาว่าคุณเป็น Post-modern คุณเป็นโรแมนติคนิยม คุณเป็นนู่น เป็นนี่ เป็นนั่น แล้ววิพากษ์จนแบบมองหน้ากันไม่ติด ทำงานกันไม่ได้ ไม่เอา ผมไม่อยากให้เกิดบรรยากาศแบบนั้น แต่คิดว่าถ้ามันเป็นขบวนการประชาธิปไตย มันมีความหลากหลายในตัวได้ มันไปด้วยกันได้ แค่เนี้ยขอบคุณครับ

ตอบ
คือที่ผมอธิบายคำว่าวรรณกรรมสร้างสรรค์ หรือ Discourse ของวรรณกรรมสร้างสรรค์ที่มันขับเคลื่อนหลัง 20  จนกระทั่งถึงวิกฤตการเมือง คือลักษณะของมันคือเนื่องจาก 6 ตุลามันโหดมากๆนะ มันเหมือนกับการโดนทุบเปรี้ยงลงมานะ ซึ่งคุณไม่สามารถที่จะอธิบายเหตุการณ์ 6 ตุลาได้เลย ถ้าคุณไม่อธิบายเกี่ยวกับสถานะและบทบาทนะของสถาบัน เพราะว่าการที่ไปฆ่านั้นก็คือฆ่าเพราะว่าปกป้องสถาบันนะ คุณไม่สามารถที่จะอธิบาย 6 ตุลาได้เลย ถ้าไม่อธิบายสถานะและบทบาทสถาบัน

ทีนี้สิ่งที่มันเกิดขึ้นกับวรรณกรรมสร้างสรรค์ มันคือการหลีกหนีความจริง หลีกหนีความจริงก็เพราะ 6 ตุลามันเจ็บปวด  แล้ว Discourse ของวรรณกรรมสร้างสรรค์มันเกิดขึ้นเพื่อที่จะหลีกหนีไอ้ความเจ็บปวดตรงนี้ เพราะไม่สามารถที่จะพูดถึงมันได้ทั้งหมด ไม่สามารถพูดถึงมันได้ให้สุด เพราะฉะนั้นภาวะที่มันเกิดขึ้นแบบเนี้ยเขาเรียกว่าโรแมนติคนิยม มันหลีกหนีความจริง มันหลีกหนีไปหาโลกอุดมคติ มันหลีกไปหาอดีต หนีไปหาสิ่งสวยงาม เพราะว่า 6 ตุลามันเจ็บปวด แล้วมันพูดไม่ได้ พูดได้ไม่หมด นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น นี่คือ Discourse ที่มันบงการไอ้วรรณกรรมไทยมาจนถึงวิกฤตการเมือง ซึ่งทำให้เกิดการพังทลายของ Discourse ตัวนี้อีกครั้งหนึ่ง ก็คือในวิกฤตการเมือง turning point แรกๆ อย่างถ้าคนที่ต่อสู้ทางความคิดมา ในช่วงการเมืองก็จะเข้าใจนะ ช่วงแรกก็คือสองไม่เอาที่เถียงกันหนัก ๆ เลย พอทะลุไปได้ความคิดมันจะเคลื่อน ไอ้พวกนี้มันเป็นเหมือนหมุดหมาย คือถ้าเกิดว่าคนมาชนสองไม่เอามันเหมือนจะวน ๆ อยู่ในลูปนี้ ถ้ามันไม่ทะลุมันก็จะวนอยู่อย่างนี้ ถ้ามันทะลุมันก็จะไปอีกจุดหนึ่ง ไอ้เลิก-แก้มันก็เป็นลูปอย่างนี้แหละ เป็นลูปอย่างงี้อีกลูปหนึ่ง ถ้าใครไม่พ้นก็จะวน ๆ ถ้าใครพ้นก็จะไปอีกลูปนึง ทุก ๆ การเคลื่อนไหว ทุกปรากฏการณ์ คือตอนนี้มันไปด้วยกันหมด คือปรากฏการณ์ทางการเมือง แล้วก็ความเคลื่อนไหวทางความคิดที่มันไปด้วยกันเนี่ย มันจะเจอ turning point อย่างนี้ตลอด แล้วถ้าเกิดความคิดคุณฝ่าไปได้ คุณก็จะไปอีกจุดหนึ่ง ถ้าคุณเคลื่อนผ่านไม่ได้คุณก็จะวนอยู่ตรงนั้น เพราะฉะนั้น ที่ไม่พูดถึงคนที่ยังวนอยู่ เพราะเค้ายังวนอยู่ มันไม่เคลื่อนออกไป เรายังไม่เห็นว่ามันเคลื่อน เคลื่อนหมายถึงว่าคุณต้องฝ่าบริบททางสังคมการเมืองไปได้ด้วย เพราะคุณปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือเป็นปัญหาใจกลางของสังคมไทยที่เป็นอยู่ แล้วมันบีบพลังทางปัญญาของคุณอยู่ นอกจากคุณไม่ได้อาศัยอยู่ในเมืองไทย คุณไปอยู่ในบริบทอื่นแล้วมันไปปะทะกับเรื่องอื่นก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่นี่คุณอยู่ตรงนี้แล้วปะทะกับเรื่องนี้ ถ้าคุณเคลื่อนผ่านมันไม่ได้คุณไม่มีทางที่จะขับเคลื่อนในเรื่องอื่น ไม่มีทาง นอกจากคุณหลีกหนีไปเขียนวรรณกรรมเยาวชน หลีกหนีไปเขียนเรื่องอื่น ซึ่งมันอาจจะโอเคนะ เป็นวรรณกรรมที่โอเค แต่ถามว่ามันจะเป็นมาสเตอร์พีชในฝันคุณไหม ไม่มีทางหรอก ไม่ใช่ มันจะไม่เคลื่อนไรเลย มันจะเคลื่อน อาจจะเคลื่อนในอีกลักษณะหนึ่ง ในแง่ของความงาม แต่มันจะไม่ซับบลามหรอก    
                                                  

Comments