วิจารณ์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลกรณีไม้หนึ่ง ก. กุนที
1
กรณีว่าทำไมการพูดถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไม้หนึ่งในตอนนี้จึง
“ไม่แฟร์” และไม่ถูกต้อง
อันที่จริงเรื่องนี้เคยเถียงกันไปรอบหนึ่งแล้ว
และสมศักดิ์จำนนไปแล้วในการเถียงกันที่สเตตัสของคุณมา ในที่นี้ผมจะตอบสั้น ๆ
อีกครั้งหนึ่ง อย่างที่ตอบไปหลายครั้งแล้ว
มันไม่แฟร์เพราะไม่มีใครสามารถที่จะรู้หรือเข้าถึงความจริงทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ในสภาพที่ฝ่ายซึ่งเป็น
“คู่กรณี” ของไม้หนึ่ง
ก็คือ คสช. กำลังครองอำนาจอยู่ และมีนักโทษการเมืองอยู่ในศาลทหาร พูดง่าย ๆ
ก็คือกำลังอยู่ในศาลของคู่กรณี สภาพแบบนี้ไม่ใช่สภาพ “เปิด” ที่จะแสวงหาข้อเท็จจริง
หรือเปิดโอกาสให้ข้อเท็จจริงปรากฏ การพูดฝ่ายเดียว พูดจากข้อมูลที่คน ๆ
เดียวมีนั้น
เป็นการไม่ยุติธรรมในเวลาที่สภาพของเรื่องยังคาอยู่ในกระบวนกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม
(คือคู่กรณีเป็นฝ่ายพิพากษาจำเลย)
เหตุที่ต้องรอให้สภาพเปิดกว่านี้จึงพูดข้อเท็จจริงออกมาก็เพื่อเปิดโอกาสให้ข้อมูลอื่น
ๆ โดยเฉพาะข้อมูลที่ “ขัดแย้ง” กับผู้พูด
สามารถที่จะแสดงตัวออกมาได้
สมศักดิ์พูดถึงข้อเท็จจริงที่เป็นผลร้ายต่อผู้ตาย
คือ ไม้หนึ่ง ก. กุนที โดยอ้างข้อมูลที่เขาได้ยินมาจากคนอื่น ในสภาพที่ คสช.
ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามของเสื้อแดงกำลังครองอำนาจ
มันก็คือสภาพที่ใครก็ไม่กล้าออกมาดีเฟนด์ไม้หนึ่ง
ไม่สามารถที่จะเอาข้อมูลออกมาโต้แย้งสมศักดิ์ได้ถ้าเขาต้องการทำ
ผลก็คือคำพูดของสมศักดิ์ก็จะถูกพูดในสภาพปิดที่ข้อมูลปรากฏจากแหล่งเดียว
คือแหล่งที่สมศักดิ์ได้มา ไม่ปรากฏข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ มาเทียบเคียง
ไม่ปรากฏมุมมองอื่น ๆ ที่อาจจะตีความข้อมูลเดียวกันแตกต่างกันมาเปรียบเทียบ
ทั้งนี้
ต้องไม่ลืมว่า สมศักดิ์รู้จักกับไม้หนึ่งเป็นการส่วนตัว
และมีเรื่องทะเลาะขัดแย้งกันก่อนที่ไม้หนึ่งจะถูกยิงตาย ในที่นี้
ถ้ามองข้อมูลของสมศักดิ์ในฐานะปากคำทางประวัติศาสตร์ มันก็เป็นปากคำที่ต้องประเมินไว้ก่อนว่ามีอคติ
หรืออย่างน้อยต้องตระหนักถึงอคติที่มีความเป็นไปได้
สำคัญที่สุดก็คือ
กรณีนี้ ไม้หนึ่งถูกฆาตกรรม ซึ่งตามสภาพปรกติแล้วคือผู้เสียหาย
แต่โดยสภาพที่เป็นอยู่ซึ่งฝ่ายตรงข้ามของไม้หนึ่งเป็นฝ่ายชนะทางการเมือง
คือมีอำนาจทางการเมืองอยู่ จากสภาพของผู้เสียหาย
ไม้หนึ่งถูกทำให้อยู่ในตกอยู่ในสภาพของ “จำเลย” ไปพร้อมกันด้วย
ในสภาพเช่นนี้ การพูดตอกย้ำของสมศักดิ์
นอกจากจะไม่แฟร์ที่พูดในสภาพปิดดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว
ยังเป็นการสนับสนุนการทำให้การฆาตกรรมของไม้หนึ่งมีความชอบธรรมขึ้นด้วย
ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่
2
นี่ก็ 4-5
วันเข้าไปแล้วจากวันที่สมศักดิ์บอกว่าจะต่อตอนที่ 2
ผมสงสัยอยู่นะว่าสมศักดิ์จะเขียนตอนที่ 2 ได้อย่างไร ในเมื่อ “แกนความคิด” ของตอนแรกนั้นมีปัญหา
ซึ่งอันที่จริงก็เป็นแกนความคิดที่สมศักดิ์ใช้อภิปรายเรื่องความรุนแรงของทั้ง 2
ปีกขั้วการเมืองมาตลอด
นี่คือแกนความคิดของสมศักดิ์
“ทั้งสองฝ่าย
ยังไม่พร้อมจะเผชิญกับความจริงทั้งหมดของเรื่องนี้....ผมก็ยังไม่คิดจะอภิปรายเต็มที่
เพราะทั้งสองฝ่ายยังไม่พร้อมจะฟัง”
ปัญหาสำคัญของแกนความคิดนี้คือมันละเลย
“ความจริง” ที่สำคัญที่สุดที่กำลังดำรงอยู่แบบ
"เฉพาะหน้า" ในเรื่องที่เกี่ยวกับความรุนแรงก็คือ
โครงสร้างความไม่เท่าเทียมกันอย่างรุนแรงของการดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิด
ขณะนี้ใครคือผู้ทรงอำนาจสูงสุด?
ไม่ใช่ คสช.
หรอกหรือ? นายกรัฐมนตรีไม่ใช่
พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชาหรอกหรือ?
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงอำนาจใน
คสช. เหล่านี้กับคนเสื้อแดงคืออะไร?
ไม่ใช่คือคู่กรณีในเหตุการณ์ปี
2553 ที่ยังเป็นคดีความอยู่หรือ?
สมศักดิ์พูดว่า “ทั้งสองฝ่าย
ยังไม่พร้อมจะเผชิญกับความจริงทั้งหมดของเรื่องนี้....ผมก็ยังไม่คิดจะอภิปรายเต็มที่
เพราะทั้งสองฝ่ายยังไม่พร้อมจะฟัง” โดยไม่คำนึงถึงโครงสร้างความไม่เท่าเทียมที่รุนแรงนี้
ความสัมพันธ์ระหว่าง
ผู้ทรงอำนาจรัฐเบ็ดเสร็จในรัฐเผด็จการที่เป็นอยู่ในขณะนี้กับผู้ต้องหาเสื้อแดงคือ
คู่อริ
ความสัมพันธ์ระหว่าง
ผู้ทรงอำนาจรัฐเบ็ดเสร็จในรัฐเผด็จการที่เป็นอยู่ในขณะนี้กับผู้ต้องหาฝ่าย กปปส.
คือ แนวร่วม (ทั้งแนวร่วมตอนปี 53 และช่วงม็อป กปปส.)
ผมต้องยกหลักฐานต่าง
ๆ ที่เคยอภิปรายไปแล้วขึ้นมากล่าวซ้ำไหม? ปากคำของนายสุเทพว่าประยุทธ์ร่วมวางแผนมาด้วยกันชี้มูลไปในทิศทางใด? ใครเป็นคนบัญชาการเหตุการณ์ปราบเสื้อแดงในปี
53?
นี่คือข้อเท็จจริงที่สะท้อนโครงสร้างของความไม่เท่ากันอย่างรุนแรงในระบบยุติธรรมขณะนี้ที่มีต่อผู้ต้องหา
โดยเฉพาะในคดีความที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง
ในสภาวะเช่นนี้หากเราทวงถามสำนึกและข้อเท็จจริงจากทั้งสองฝ่ายเท่า
ๆ กันตามแนวคิดของสมศักดิ์ มันก็คือเรากำลังเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงว่า
ฝ่ายหนึ่งที่ถูกเราทวงถามอยู่ในฐานะที่ปลอดภัยกว่าอีกฝ่ายหนึ่งมาก
และอีกฝ่ายที่ถูกเราทวงถามกำลังอยู่ในสถานภาพที่แทบไม่อาจป้องกันตนเองได้เลย
ไม่ว่าคนเสื้อแดงจะต้องการโปรฮาร์คคอร์ในช่วง
กปปส. หรือช่วงปี 53 ณ ขณะนี้พวกเขาแสดงออกได้เท่า ๆ กับ กปปส. หรือ?
ใส่เสื้อสีแดงคนยังไม่กล้าใส่กันเลย
การไปถามคนทั้งสองฝ่ายแบบเท่า
ๆ กันว่า ทั้งสองฝ่ายพร้อมจะยอมรับความจริง เผชิญความจริงทั้งหมด
(เกี่ยวกับความรุนแรง) ตอนนี้ ก็คือคุณไปถามในขณะที่ฝ่ายหนึ่งมีเสรีภาพ
ส่งเสียงได้ตามปรกติ กับอีกฝ่ายหนึ่งถูกปิดปากให้กลายเป็นใบ้
พวกนักโทษเสื้อแดงจะมีปัญญาตอบคุณหรือว่า
ครับ...ผมผิดไปแล้วครับ ผมสำนึกแล้ว
พวกที่ลี้ภัยหัวซุกหัวซุนสามารถเสนอหน้ากลับมาในสังคมแล้วบอกว่า
ครับ....ผมผิดไปแล้วครับ... พวกที่เคยเชียร์ ๆ
ความรุนแรงทางฝั่งแดงจะกล้าออกมาแสดงตัวแบบเปิดเผย? พวกแกนนำจะกล้าแสดงความเห็นเรื่องนี้อย่างเปิดเผย?
แล้วถามว่าสภาพแบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับฝั่ง
กปปส. หรือไม่?
ไม่ใช่ว่าอีกฝ่ายสามารถแสดงออกด้วยการจัดงานเลี้ยงฉลอง
ทำเสื้อยืด รวมตัวกันเชียร์มือปืนอยู่หรือ?
แล้วคุณก็บอกว่า
พวกคุณสองฝ่ายพร้อมจะเผชิญข้อเท็จจริงไหม?
นี่คือความผิดพลาดของแกนคิดหลักในข้อเขียนของสมศักดิ์
การอภิปรายของสมศักดิ์เรื่องป๊อปคอร์นจึงไม่มีความหมายอะไรเลย
เช่น
“แต่พูดกันตรงๆ ผมคิดว่า จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
ฝ่ายที่เชียร์เสื้อแดงจำนวนมาก (รวมทั้งระดับนักวิชาการ หรือคนทำสื่อ) เอาการ
"ทำแต้ม" กรณีป๊อบคอร์น (ซึ่งต้องย้ำอย่างที่เพิ่งเขียนไปว่า
ลำพังที่เขียนๆกันอย่างทีผมยกมา มันไม่ได้ผิดอะไร ที่มีปัญหาคือที่จะกล่าวต่อไปนี้)
มา "กลบ" หรือหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับความจริงของด้านที่
"อั๊กลี่" เกี่ยวกับการใช้อาวุธของฝ่ายเสื้อแดงเอง”
ถามว่า
การไม่หลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับความจริงของด้านที่อั๊กลี่เกี่ยวกับการใช้อาวุธของฝ่ายแดงคืออะไร
คือการที่ต้องคอยย้ำว่าเสื้อแดงรุนแรงบ่อย ๆ หรือย้ำคู่กันเวลาที่เรสเรื่องนี้ของ
กปปส. ในสภาพที่เสื้อแดงพูดไม่ได้ ตอบคุณไม่ได้ด้วยซ้ำ
ขณะที่อีกฝ่ายสามารถแสดงออกแบบไม่ยี่ระจนถึงขนาดไปรวมตัวกันสนับสนุนมือปืนได้?
การเผชิญหน้าที่คุณไปทวงถามเขาแบบนี้
โดยไม่คำนึงถึงโครงสร้างกดทับที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้นะครับ คนสองคนทะเลาะกัน
คนหนึ่งลงไปกองกับพื้นเลือดอาบ อีกคนยืนเต้นระบำ คุณบอกทั้งสองฝ่ายว่า
พวกคุณพร้อมจะเผชิญหน้ากับความจริงไหม?
คนแม้จะถูกดำเนินคดีก็ต้องมีหลักประกันเรื่องความปลอดภัยก่อน
ทำไมเวลาตำรวจจับคนร้ายที่บาดเจ็บถึงต้องเอาไปรักษาก่อนจะดำเนินคดี? ไม่ใช่หลักประกันเรื่องความปลอดภัยหรือ? และขณะนี้
หลักประกันในเรื่องนี้ระหว่าง กปปส. และ เสื้อแดง เท่ากันหรือไม่?
การพูดถึงความรุนแรงตอนนี้
ทำเท่ากันไม่ได้ครับ เพราะโดยสภาพข้อเท็จจริงของโครงสร้างฯ มันไม่เท่ากันอยู่
นี่ไม่เกี่ยวกับเรื่องพวกใครเลย แต่เกี่ยวกับความสามารถที่จะตอบสนองศีลธรรม, เกี่ยวกับความสามารถในการแสดงออก
และเกี่ยวกับหลักประกันในเรื่องความปลอดภัยและความยุติธรรมที่ไม่เท่ากันอยู่
14-15 พฤษภาคม
2016
Comments
Post a Comment