ดอน กิโฆเต้
ดอน กิโฆเต้
เป็นนิยายที่เขียนขึ้นในช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์ของนิยายสมัยใหม่
และเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ส่งผลต่อวรรณกรรมยุคสมัยใหม่ นิยายเรื่องนี้เขียนโดย
เซร์บันเตส นักเขียนชาวสเปนซึ่งมีชื่อเต็มว่า มิเกล์ เด เซร์บันเตส ซาเบดร้า
เซร์บันเตส เขียน ดอน กิโฆเต้ภาคแรกขึ้นในปี
1605 หลังจากนั้นต่อมาอีกสิบปี ก็คือปี 1615 จึงเขียนดอน
กิโฆเต้ภาคสองสำเร็จลุล่วง นอกจากนี้ เซร์บันเตสยังมีผลงานเล่มอื่น ๆ อีก เช่น
บทละคร Galatea
(1585), เรื่องเล่าเกี่ยวกับการผจญภัยอันโรแมนติก Examplary Novels (1613), Journey to Parnassus (1614)
กล่าวถึงกวีสเปนอย่างเสียดสี, และ Eight Plays and
Eight Interludes (1615)
เซร์บันเตสเกิดที่สเปนเมื่อปี 1547
พ่อของเขาเป็นช่างตัดผมที่อัตคัด ท่องเที่ยวหางานทำไปทั่วสเปน
เซร์บันเตสในวัยเด็กได้รับการศึกษาแบบเยซูอิดส์ (Jesuits) ในเซวิลล์ และเข้าสมัครในกองทหารเมื่อเติบโตขึ้น
เซร์บันเตสได้รับบาดเจ็บที่ Lepanto
ในปี 1571 และในปี 1575 ก็ถูกฝ่ายเติร์ก (Turks) จับขังถึง 5 ปี จึงไถ่ถอนตัวเองออกมาได้สำเร็จ
ในการกลับคืนสู่สเปน
เขาพบว่าครอบครัวของเขายากจนลงไปกว่าเดิม
เขายึดอาชีพนักเขียนเพื่อหาเลี้ยงแม่และน้องสาว
โดยหวังว่าวันหนึ่งจะกลายเป็นนักเขียนบทละครที่ประสบความสำเร็จ
แต่ผลงานจากอัจฉริยะภาพของเขาไม่ประสบความสำเร็จ ในช่วงเวลา 15 ปี
เขาไม่เคยได้สัมผัสถึงความมั่งคั่งแม้แต่น้อย
แต่เซร์บันเตสก็เริ่มจะมีชื่อเสียงในช่วงชีวิตของเขา เมื่อดอน กิโฆเต้และซานโช
ปันซ่า เป็นที่รู้จัก
เซร์บันเตสตายวันที่ 23 เมษายน ปี 1616
ซึ่งเป็นวันตายวันเดียวกับเช็กสเปียร์นักเขียนบทละครชาวอังกฤษผู้โด่งดังที่อยู่ในยุคสมัยเดียวกับเขา
มีเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับดอน
กิโฆเต้และชีวิตของเซร์บันเตสที่น่าสนใจ เช่น เขาเคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดวลในมาดริดเมื่อปี
1569 ซึ่งทำให้ต้องลี้ภัยไปอิตตาลี
ที่นั่น เขาปักหลักในโรมและเข้าไปรับใช้ Giulio Acquaviva ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคาร์ดินัล
ระหว่างสงครามทางเรือของกองทัพพันธมิตรแคธอลิกกับชาวเติร์ก
กองทัพเรือของพันธมิตรได้รับชัยชนะอย่างงดงาม
แต่เซร์บันเตสได้รับบาดเจ็บสาหัสทำให้มือซ้ายของเขาพิการ หลังจากนั้นอีก 4 ปี
คือในปี 1575 เรือของเขาถูกโจมตีโดยโจรสลัด
เขาและนักโทษชาวคริสต์คนอื่นถูกส่งไปยังอัลเจียส์ เซร์บันเตสต้องถูกขังอยู่ที่นั่น
5 ปี
เซร์บันเตสแต่งงานกับเคทาลีนา (Catalina
de Salazar) ซึ่งอายุน้อยกว่าเขา 19 ปี แต่ชีวิตแต่งงานไม่ราบรื่น
สุดท้ายทั้งคู่แยกกันอยู่
ผลงานในช่วงแรกของเขาได้รับความชื่นชมจากเหล่าปัญญาชนไม่น้อย
เป็นหัวข้อในการสนทนาอย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะลักษณะเพ้อฝันเพ้อเจ้อที่ปนเปไปกับความเป็นจริง
และมีนัยประหวัดหาความจริงในอีกมุมหนึ่ง
ดอน
กิโฆเต้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงเวลาคลาสสิกของวรรณกรรมสเปน ซึ่งเรียกกันว่า ยุคทอง
ช่วงเวลาดังกล่าวจักรวรรดิสเปนยังถือเป็นจักรวรรดิที่ทรงอำนาจสูงสุดของโลก
นอกจากนี้ ช่วงเวลานี้ ยังเข้มข้นไปด้วยความขัดแย้งทางศาสนา
ไม่แต่เพียงสงครามระหว่างศาสนาของคริสต์และมุสลิม แต่ระหว่างคริสต์ด้วยกัน
คือนิกายแคธอลิกและโปแตสแตนต์ด้วย
ดอน กิโฆเต้ ถือเป็นนิยายที่มาก่อนนิยาย
เป็นหนังสือที่มาก่อนหนังสือทั้งปวง และเซร์บันเตสถูกนับเป็นบุคคลหลัก ๆ
คนหนึ่งในโลกวรรณกรรมที่ให้กำเนิดนวัตกรรมทางการเขียนที่เรียกว่า “นิยาย” ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของศตวรรษที่
17
ประโยคเปิดเรื่องที่ว่า “At
a village of La Mancha, whose name I do not wish to remember,” (ณ
หมู่บ้านแห่งหนึ่งในแคว้นลามันช่า อันข้าพเจ้ามิประสงค์จะเอ่ยนาม)
เป็นประโยคที่มีนัยของการเล่าเรื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดประโยคหนึ่งในโลกวรรณกรรม
ฯลฯ
อันที่จริงเกร็ดเกี่ยวกับดอน กิโฆเต้
และเซร์บันเตสยังมีอีกมากมายมหาศาล
ส่วนที่ยกมานี้จึงได้บอกไว้ตอนต้นว่าเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้น
ดอน
กิโฆเต้เป็นเรื่องราวของขุนนางคนหนึ่งที่อ่านนิยายอัศวินจนวิปลาตคิดไปว่าตนเองเป็นอัศวินพเนจร
จึงออกเดินทางประกอบวีรกรรมเยี่ยงเดียวกับอัศวินทั้งหลายที่ตนรู้เห็นมาจากการอ่าน
และในการเดินทางของดอน กิโฆเต้นี้ ก็ทำให้ได้พบผู้คนและเรื่องราวอีกมากมายหลายหลาก
ดอน กิโฆเต้ฉบับภาษาไทยแปลโดย สว่างวัน
ไตรเจริญวิวัฒน์ มีทั้งฉบับปกแข็งและปกอ่อน และมีเพียงภาคเดียวเท่านั้น ฉบับภาษาอังกฤษจะสมบูรณ์และราคาถูกกว่ามาก
ในที่นี้ขอแนะนำฉบับของ Signet Classic (ยี่ห้อหนึ่งของเพนกวิน)
แปลโดย Walter Starkie ซึ่งมีบท Introduction ที่ดีมากของ Edward H. Frieman
ส่วนคนที่มีเวลาน้อยและไม่เกี่ยงเรื่องราคา ฉบับภาษาไทยนี้ก็แปลได้น่าอ่านและจัดทำอย่างสวยงามเหมาะสำหรับนักสะสม
Comments
Post a Comment